กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย อนามัยสมบูรณ์ ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L2536-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูวานี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ
6.56

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกที่พบบ่อย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุการตายของดามีความสัมพันธ์กับการมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยถึงร้อยละ ๔๐ (ธีระ ทองสงและชเนนทร์ วนาภิรักษ์ : ๒๕๓๕ ) ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์โดยในช่วงแรกทำให้อัตราการตายของมารดาและทารกระหว่างการคลอดสูง การตั้งครรภ์จะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เด็กที่เกิดมามีพัฒนาการทางสมองลงลง เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์นั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์พบได้สูงถึงร้อยละ ๓๐ ในบางพื้นที่ (WHO 1989) จากการรายงานพบว่าปี2565 พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในตำบลปูโยะ คิดเป็นร้อยละ 6.56 ซึ่งพบว่าไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าไม่เกินร้อยละ ๑๐ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีดลดลง

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอดลดลง

3.65 2.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกับการปฏิบัติตัว

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกับการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น

3.65 2.00
3 เพื่อให้คู่สมรสรายใหม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานยาโฟเลต

ร้อยละความพิการในทารกแต่กำเนิดลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์และลดภาวะเสี่่ยง

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น

4.50 3.00
5 เพื่อให้หญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการติดตาม

หญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเยี่ยมติดตามตามเกณฑ์ (คน)

13.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดตามหลักโภชนาการ 0 10,800.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีด 0 8,520.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเตรียมความพร้อมคู่สมรสรายใหม่ก่อนตั้งครรภ์ด้วยโฟเลต 0 750.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมโรงเรียนพ่อแม่ในหญิงตั้งครรภ์ 0 1,500.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมเยี่ยมติดตามหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงเชิงรุก 0 3,000.00 -
รวม 0 24,570.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดขณะใกล้คลอดไม่เกิน ร้อยละ 10
  2. ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 7
  3. ป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 00:00 น.