กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประจำปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

กลุ่มชาวโกตาใส่ใจสุขภาพ

1. นางสาวพรรวินท์ หวันสู
2. นางสาวอริสรา สำเร
3. นางร่มมาหวัน มินเด็น
4. นางรัชฎาพร หยังสู
5. นางฝีฉ๊ะ ศุภกิจกุล

หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีการออกกำลังกาย

 

20.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

 

25.00

โรคเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่โรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย โรคที่ถูกจัดว่าเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถือว่าเป็นภัยเงียบผลกระทบของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้ทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคนี้เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ที่สำคัญ เช่น จอประสาทตาเสื่อม โรคไตเรื้อรังโรคหัวใจและหลอดเลือด บาดแผลเรื้อรัง การตัดแขนขา เป็นต้นโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่ารักษาพยาบาล

จากข้อมูล PT เบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านโกตา มีประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในชุมชน 821 ราย พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรัง 22 ราย เพศชาย 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.73% เพศหญิง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.27% มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 48 ราย เพศชาย 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.25% เพศหญิง 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.75% ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ แต่ปัจจุบันพบว่าประชาชนมีปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัจจัยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้แนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข การที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่สำคัญและเป็นอันตราย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง เกิดความสูญเสียทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม

จากการสำรวจข้อมูลทำแผนที่เดินดินและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเกิดโรคควบคู่ไปกับการป้องกันโรค โรคแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตัวเอง รวมทั้งรับทราบและแก้ไขปัญหาร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้ตระหนักในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง(คน)
  2. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
60.00
2 เพื่อลดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง

ลดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม(คน)

30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อน-หลัง ดำเนินโครงการ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไป ประเมินสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น

เป้าหมาย

  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนแกนนำโครงการ จำนวน 5 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าเครื่องวัดความดัน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 29 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
2.1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน หลังการอบรม เรื่องการตรวจวัดความดัน การะเจาะเลือดคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน (เจาะเลือดปลายนิ้ว) ดัชนีมวลกาย และการแปรผล

2.2 ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี

2.3 ให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการแนะนำผู้ป่วยได้

3 อ. คือ อาหาร, อารมณ์ และออกกำลังกาย

2 ส. คือ ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่

2.4 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

เป้าหมาย

  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

งบประมาณ

  • ค่าเอกสารแบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม (เฉลี่ยจำนวนผู้เข้าอบรม 70 คน) จำนวน 140 ชุด เป็นเงิน 140 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 70 คนๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,550 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าเอกสารแผ่นพับจำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 350 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วนเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15015.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 สอน/สาธิต การทำเมนูน้ำ-อาหารเพื่อสุขภาพ

2.2 ส่งเสริมการออกกำลังกายแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาทีโดยการเล่นกะลาสามัคคี เป็นการเล่นเพื่อใช้ในการออกกำลังกาย ซึ่งกะลาสามัคคีเป็นการนำสิ่งของเหลือมาประยุกต์ใช้ โดยการนำลูกมะพร้าวมาปลอกเปลือกและเจาะรู นำเชือกมาผูกเป็นคู่ วิธีการเล่นมี 2 แบบ คือ

  1. ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากัน มือจับห่วงยางให้แน่น โดยผู้เล่นก้าวเท้าออกไปข้างหน้าแล้วดึงเชือกสลับกันในแนวขนานกับหน้าอก

  2. ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากันมือจับห่วงยางให้แน่น โดยเท้าของผู้เล่นทั้งสองข้างชิดกัน ผู้เล่นจับห่วงกางแขนออกให้กว้าง ทำสลับกันไป

เป้าหมาย

  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

งบประมาณ

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการสอน/สาธิต การทำน้ำ-อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นเงิน 845 บาท

  • ค่าเชือกไนลอนสำหรับสอน/สาธิตการออกกำลังกายโดยการเล่นกะลาสาสมัคคี เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
945.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

3.2 ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการในหมู่บ้านร่วมกับชุมชน

เป้าหมาย

  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

  • แกนนำชุมชน จำนวน 20 คน

งบประมาณ

  • ค่าแบบประเมินการติดตามผล จำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 140 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ประชุมถอดบทเรียน) จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
640.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

5.1 รายงานผลโครงการ

งบประมาณ

  • รูปเล่มโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง


>