กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ประจำปี 2565
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มชาวโกตาใส่ใจสุขภาพ
กลุ่มคน
1. นางสาวพรรวินท์ หวันสู
2. นางสาวอริสรา สำเร
3. นางร่มมาหวัน มินเด็น
4. นางรัชฎาพร หยังสู
5. นางฝีฉ๊ะ ศุภกิจกุล
3.
หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่โรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย โรคที่ถูกจัดว่าเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถือว่าเป็นภัยเงียบผลกระทบของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้ทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคนี้เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ที่สำคัญ เช่น จอประสาทตาเสื่อม โรคไตเรื้อรังโรคหัวใจและหลอดเลือด บาดแผลเรื้อรัง การตัดแขนขา เป็นต้นโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่ารักษาพยาบาล

จากข้อมูล PT เบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านโกตา มีประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในชุมชน 821 ราย พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรัง 22 ราย เพศชาย 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.73% เพศหญิง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.27% มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 48 ราย เพศชาย 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.25% เพศหญิง 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.75% ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ แต่ปัจจุบันพบว่าประชาชนมีปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัจจัยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้แนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข การที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยเฉพาะภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่สำคัญและเป็นอันตราย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง เกิดความสูญเสียทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม

จากการสำรวจข้อมูลทำแผนที่เดินดินและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเกิดโรคควบคู่ไปกับการป้องกันโรค โรคแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตัวเอง รวมทั้งรับทราบและแก้ไขปัญหาร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้ตระหนักในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง(คน) 2. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ร้อยละ 60 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
  • 2. เพื่อลดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ลดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม(คน)
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 30.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อน-หลัง ดำเนินโครงการ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไป ประเมินสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น

    เป้าหมาย

    • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนแกนนำโครงการ จำนวน 5 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าเครื่องวัดความดัน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท

    งบประมาณ 7,000.00 บาท
  • 2. อบรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน การดูแลตนเอง ความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส.
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    2.1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน หลังการอบรม เรื่องการตรวจวัดความดัน การะเจาะเลือดคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน (เจาะเลือดปลายนิ้ว) ดัชนีมวลกาย และการแปรผล

    2.2 ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี

    2.3 ให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการแนะนำผู้ป่วยได้

    3 อ. คือ อาหาร, อารมณ์ และออกกำลังกาย

    2 ส. คือ ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่

    2.4 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

    เป้าหมาย

    • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

    งบประมาณ

    • ค่าเอกสารแบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม (เฉลี่ยจำนวนผู้เข้าอบรม 70 คน) จำนวน 140 ชุด เป็นเงิน 140 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 70 คนๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,550 บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าเอกสารแผ่นพับจำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 350 บาท

    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 675 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,800 บาท

    งบประมาณ 15,015.00 บาท
  • 3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    2.1 สอน/สาธิต การทำเมนูน้ำ-อาหารเพื่อสุขภาพ

    2.2 ส่งเสริมการออกกำลังกายแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาทีโดยการเล่นกะลาสามัคคี เป็นการเล่นเพื่อใช้ในการออกกำลังกาย ซึ่งกะลาสามัคคีเป็นการนำสิ่งของเหลือมาประยุกต์ใช้ โดยการนำลูกมะพร้าวมาปลอกเปลือกและเจาะรู นำเชือกมาผูกเป็นคู่ วิธีการเล่นมี 2 แบบ คือ

    1. ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากัน มือจับห่วงยางให้แน่น โดยผู้เล่นก้าวเท้าออกไปข้างหน้าแล้วดึงเชือกสลับกันในแนวขนานกับหน้าอก

    2. ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากันมือจับห่วงยางให้แน่น โดยเท้าของผู้เล่นทั้งสองข้างชิดกัน ผู้เล่นจับห่วงกางแขนออกให้กว้าง ทำสลับกันไป

    เป้าหมาย

    • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

    งบประมาณ

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการสอน/สาธิต การทำน้ำ-อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นเงิน 845 บาท

    • ค่าเชือกไนลอนสำหรับสอน/สาธิตการออกกำลังกายโดยการเล่นกะลาสาสมัคคี เป็นเงิน 100 บาท

    งบประมาณ 945.00 บาท
  • 4. ติดตามผล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

    3.2 ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการในหมู่บ้านร่วมกับชุมชน

    เป้าหมาย

    • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน

    • แกนนำชุมชน จำนวน 20 คน

    งบประมาณ

    • ค่าแบบประเมินการติดตามผล จำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 140 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ประชุมถอดบทเรียน) จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 640.00 บาท
  • 5. รายงานผลโครงการ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    5.1 รายงานผลโครงการ

    งบประมาณ

    • รูปเล่มโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 7 บ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 24,600.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. กลุ่มผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 24,600.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................