กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ กาสง ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุข ม.6 ปะกาลือสง ต.ตุยง

1. นายแวยะมา แวดือราเฮง
2. นางสาวซามีเดาะอาแว
3. นางสาวหามีดะสาและ
4. นางสาวปาตีเมาะ หะยีบือเฮง
5. นางสาวแอเสาะ เปาะซา

หมู่ที่ 6 ตำบลตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

1.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

7.91
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

16.95
4 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

6.25

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม และลดความเสี่ยงพิการ จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต อีกทั้งผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาสในแต่ประเภทก็ไม่ได้แตกต่างจากผู้สูงอายุเพราะผู้สูงอายุหลายคนมีความพิการจากโรคต่างๆ ทางชมรมอสม.หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง อยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรอง ประเมิน ปัญหาสุขภาพ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงอายุและผู้พิการ

กลุ่มผู้สูงอายุ และพิการ ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 90

138.00 125.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ดูแล มีความความรู้ และทักษะในการสุขภาพ

กลุ่มผู้สูงอายุ พิการ และผู้ดูแล มีความรู้การดูแลสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 90

138.00 125.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 113
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 25
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รุกชุมชนเฝ้าระวังสุขภาวะ

ชื่อกิจกรรม
รุกชุมชนเฝ้าระวังสุขภาวะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรอง ประเมิน ปัญหาสุขภาพ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงอายุและผู้พิการ พร้อมระบบส่งต่อ - ค่าเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรอง เช่น เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดันโลหิตสูง และอื่นๆ) เป็นเงิน   4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง และมีการส่งต่อตามระบบได้อย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 ฟื้นฟู พัฒนาทักษะองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟู พัฒนาทักษะองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฟื้นฟู พัฒนาทักษะองค์ความรู้โดยการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ดูแล - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน X 60 บาท  เป็นเงิน   3,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600  เป็นเงิน  3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีทักษะองค์ความรู้ที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 3 ฟื้นฟูสุขภาวะผ็สูงอายุ และผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
ฟื้นฟูสุขภาวะผ็สูงอายุ และผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุกชุมชนติดตามเยี่ยมผู้พิการและผู้สูงอายุ จัดประชุมเครือข่ายสุขภาพและถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน 1,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเป้าหมายมีจิตใจที่เข้มแข็ง
  • เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างชมรมกับประชาชนในพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่มรายงานกองทุนฯ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุป เป็นรูปเล่มให้คณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,600.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม.
2. คัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงพร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ
3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการในพ้นที่
4. การติดตามเยี่ยมบ้านฟื้นฟูสุขภาพและเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ดูแล มีความรู้ ทักษะการดูแลสุขภาพ
2. ผู้สูงอายุและผู้พิการมีสุขภาพที่ดี สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันอย่างง่ายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง


>