กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นางสาวธีราพร ตาดำ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 081 539 4916

อาคารอเนกประสงค์คลองเตย ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

40.25
2 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

40.50
3 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการปปฏิบัติตัว การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19

 

40.50

จากรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ที่แพร่ระบาดอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มากขึ้นและมีรายงานผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น จากข้อมูลศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดสงขลา ณ วันที่ 17 มกราคม 2565 มีรายงานผู้ติดเชื้อ 47 ราย ผู้ป่วยสมสะ 68,105 ราย รักษาหาย 66,673 ราย และเสียชีวิต 319 ราย จังหวัดสงขลาจึงได้กำหนดจึงได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มีส่วนในการจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การจัดบริการฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ ให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มประชาชนอายุ 18-59 ปี เพื่อให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมมากที่สุด ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกัน ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดการแพร่กระจายของโรคสู่ผู้อื่น ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่และลดอัตราการเสียชีวิต

ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 - 16 มกราคม 2565 ปรากฏว่าตำบลคอหงส์ มีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 สะสม 1,537 ราย เทศบาลเมืองคอหงส์ได้มีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ จึงได้จัดทำโครงการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซันโควิด-19 โดยบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

40.25 80.50
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

40.50 90.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการปปฏิบัติตัว การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการปปฏิบัติตัว การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น

40.50 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,000
กลุ่มวัยทำงาน 3,000
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,000
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์การให้บริการวัคซีนโควิด-19 และให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว
  • จัดอบรมให้ความรู้ และ การปฏิบัติตัวป้องกันโรคโควิด-19
  • บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่มารับวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1,2,3

ค่าใช้จ่าย
- เทศบาลเมืองคอหงส์ ได้รับการบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยใช้บุคลากรของเทศบาลกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นเงิน 0 บาท
- ค่าบริการทางการแพทย์ในการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำนวน 5,000 คน คนละ 100 บาท
- ค่าสถานที่ โต๊ะ/เก้าอี้ เป็นเงิน 0 บาท ใช้สถานที่อาคารอเนกประสงค์คลองเตย
1. ค่าวิทยาให้ความรู้ จำนวน 1 คน x 600 บาท x 16 ครั้ง
เป็นเงิน 9,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม ของเจ้าพนักงานและบุคลากรที่มาดำเนินกิจกรรม จำนวน 60 คน x 80 บาท x 16 ครั้ง
เป็นเงิน 76,800 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
4. ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการเช่น กระดาษ,หมึกพิมพ์,ปากกา,เชือกฟาง ฯลฯ เป็นเงิน 6,460 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงและได้รับการฉีดวัคซันในเข็มกระตุ้น ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รีบการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
93310.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 93,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงและได้รับการฉีดวัคซันในเข็มกระตุ้น ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด
2. กลุ่มเป้าหมายได้รีบการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน
3. อัตราการป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ลดลง


>