กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านจือโระร่วมมือร่วมใจ ห่างไกลความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่6

หมู่ที่6 บ้านจือโระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย ความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562) เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการแสดงจึงมักถูกเรียกว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ (silent killer)” องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) พบว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก 7.5 ล้านคน (ร้อยละ 12.8) ของการเสียชีวิตทั้งหมด และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งคาดว่าในปี 2568 ความชุกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยระหว่างปี 2560-2562 เท่ากับ 1,363,616 คน 1,468,433 คน และ 1,566,762 คน ตามลำดับ และเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงระหว่างปี 2560-2562 เท่ากับ 8,525 คน และ 9,313 (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2562) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง (เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง) การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อ้วน ภาวะเครียดสะสม ประกอบกับอายุที่มากขึ้น และกรรมพันธุ์ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2551) ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่รู้ตัว หากไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือควบคุมความดันโลหิตให้คงที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เป็นสาเหตุของทุพพลภาพและการเสียชีวิต เช่น โรคหัวใจ โรคไตวาย และโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาข้อมูลในชุมชน หมู่ 6 บ้านจือโระ ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พบว่า มีประชากรทั้งหมด 1,644 คน และมีครัวเรือนทั้งหมด 318 ครัวเรือน ซึ่งนักศึกษาได้สำรวจปัญหาในชุมชนเป็นจำนวนทั้งหมด 60 ครัวเรือน โดยจากการทำแบบสอบถามพบปัญหา 5 อันดับแรกทั้งหมด 5 ปัญหา ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 16.67 โรคเบาหวาน ร้อยละ 6.67 โรคไข้หวัด ร้อยละ 4.32 ปัญหาปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 2.74และหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 0.14 ตามลำดับ ซึ่งนักศึกษาได้นำปัญหาดังกล่าวจัดทำเวทีประชาคม จึงได้ปัญหาที่ประชาชนเห็นถึงความสำคัญที่ต้องการแก้ไขปัญหา คือ โรคความดันโลหิตสูงซึ่งจัดเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่พบมากที่สุดในหมู่บ้าน เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกาย เช่น ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือถึงขั้นเสียชีวิต
ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาจึงจัดทำโครงการบ้านจือโระร่วมมือร่วมใจ ห่างไกลความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. โดยมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงจาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเลือกอาหารที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมสมาธิบำบัด SKT และมีการติดตามความดันโลหิตหลังอบรม
ภายหลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น เพื่อสามารถป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูง และมีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งมีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นหรือปกติ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. โดยทำการติดตามความดันโลหิตด้วยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและมีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูและมีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 29/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงจาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงจาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน X 25 บาท X 2 มื้อ = 1,500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คน X 50 X 1 มื้อ = 1,500 บาท

  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1X2 เมตร = 450 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์  1,465 บาท

  • ค่าโปสเตอร์ 150 แผ่น X 20 บาท = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 1 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7915.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามความดันโลหิตโดยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามความดันโลหิตโดยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าติดตาม 4 คน X 150 บาท X 4 ครั้ง = 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,315.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อสามารถป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูงได้

2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ได้ถูกต้องและเหมาะสม

3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. (ติดตามผลโดยการเยี่ยมบ้าน 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง)


>