กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสวนผักหนูน้อยรักษ์สุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงเรียนบ้านเจาะบือแม

1. นายแวการิน แส๊ะเด็ง
2. นางสาวยีหาน สาหาด
3. นางโนรียะ แวมะลง
4. นางสาวนูรีเสาะ ยะโกะ
5. นางสาวคอรีเย๊าะ ดีปาตี

โรงเรียนบ้านเจาะบือแม ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

การมีสุขภาพที่ดีควรเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานของการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งก็คือกลไกการสร้างสุขภาพให้ดีหรือแข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย ปัจจุบันพืชผักผลไม้ที่นักเรียนบริโภค มีสารพิษหรือสารเคมีปนเปื้อนเกือบทุกชนิด ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของนักเรียน จากการที่มูลนิธิการศึกษาไทยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยตามโครงการการจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัยในโรงเรียนที่ผ่านมา ผลจากการตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันโรงเรียนในผักที่โรงเรียนใช้มากที่สุดและบ่อยที่สุด เช่น ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง เป็นต้น ปรากฏว่าพบสารออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นสารอันตรายที่มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์ของ สสส. ในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ถูกต้องตามโภชนาการ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและวิตามินที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต การปลูกผักสวนครัวด้วยตนเองที่ปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อเป็นการเลี่ยงใช้สารเคมีสู่ความปลอดภัยของการบริโภคอาหาร เป็นอีกแนวทางที่ดีที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี ด้วยเหตุผลข้างต้นทางโรงเรียนบ้านเจาะบือแมได้เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกพืชผักสวนครัวกินเองทำให้ได้ผักที่สด ใหม่ สะอาด และปลอดภัยจากสารพิษต่าง ๆ อีกทั้งการปลูกผักยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถช่วยให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ จึงได้จัดโครงการสวนผักหนูน้อยรักษ์สุขภาพขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการปลูกผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการปลูกผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง

0.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันในโรงเรียนที่มีผักปลอดสารพิษเพื่อการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสู่สุขภาพที่ดี

นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสู่สุขภาพที่ดี

0.00

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการปลูกผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง
2. เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคพืชผักที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อร่างกาย
3. เพื่อให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสู่สุขภาพที่ดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 92
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษและการเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูก
  • งบประมาณ
  1. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 92 คน มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 5,520 บาท
  3. คู่มือประกอบการปลูกผัก จำนวน 92 เล่ม ๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 920 บาท
  4. ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ชิ้นๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 1 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้และทักษะในการปลูกผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10540.00

กิจกรรมที่ 2 หนูน้อยลงแรง เตรียมแปลงปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยลงแรง เตรียมแปลงปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการเตรียมพื้นที่สวนผักหนูน้อยรักษ์สุขภาพสำหรับการเพาะปลูกพืชผัก โดยแบ่งออกเป็น 3 ฐาน (สวน) ดังนี้ ฐานที่ 1 ฐานสวนผักพื้นบ้านและสมุนไพร ฐานที่่ 2 ฐานสวนพืชผักอายุสั้น ฐานที่่ 3 ฐานสวนเพาะเห็ดนางฟ้า
  • งบประมาณ
  • ค่าป้ายไวนิลชื่อฐานสวนผัก ขนาด 80x50 ซม. จำนวน 3 ชิ้น ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าดินปลูก/หน้าดินจำนวน 35 กระสอบ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,225 บาท
  • ค่าปูนขาว จำนวน 10 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าถาดเพาะปลูก จำนวน 10 ถาด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่ากระถางปลูก จำนวน 15 ใบ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
  • ค่าอิฐบล๊อกแปลงผัก จำนวน 50 ก้อน ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กรกฎาคม 2565 ถึง 4 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสู่สุขภาพที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3650.00

กิจกรรมที่ 3 หนูน้อยลงมือ ปลูกผักปลอดสาร

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยลงมือ ปลูกผักปลอดสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการเพาะปลูกพืชผักตามฐาน/สวนต่าง ๆ โดยนักเรียนแบ่งหน้าที่รับผิดของแต่ละคนและให้ปฏิบัติตามในแต่ละวัน
  • นักเรียนดูแลสวนผักของแต่ละฐานตามที่ได้รับผิดชอบจนพืชผักเจริญเติบโตและสามารถนำมาบริโภคได้
  • งบประมาณ
  • ค่าก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 250 ก้อน ๆ ละ 15 บาท จำนวน 3,750 บาท
  • ค่าช้อนปลูก จำนวน 10 คัน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าบัวรดน้ำขนาด ๒ ลิตร จำนวน 10 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าเมล็ดผักบุ้ง 5 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 75
  • ค่าเมล็ดกวางตุ้ง 5 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 75
  • ค่าเมล็ดผักกาดขาว 5 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 75
  • ค่าเมล็ดโหระพา 3 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 45
  • ค่าเมล็ดกะเพรา 3 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 45
  • ค่าเมล็ดกระเจี๊ยบแดง 3 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท
  • ค่าเมล็ดมะเขือ 3 ซอง ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4905.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,095.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการปลูกผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษด้วยตนเอง
นักเรียนได้บริโภคพืชผักที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อร่างกาย
นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสู่สุขภาพที่ดี


>