กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยในโรงเรียนวัดพรุเตาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงเรียนวัดพรุเตาะ

โรงเรียนวัดพรุเตาะ ม.5 ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00

การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยในโรงเรียน ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนที่สามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 ประการ ที่เน้นกระบวนผ่านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ที่ผ่านมายังมิได้ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพมากนัก
ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนวัดพรุเตาะ สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในด้านสุขภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาต่อไป โรงเรียนวัดพรุเตาะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีศักยภาพในตนเอง และสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานอย่างได้ผล ผ่านกิจกรรมที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน "อย.น้อย" เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนให้มีการรับรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และเกิดการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ผ่านรูปแบบการดำเนินกิจกรรมเป็นภาคึเครือข่ายในระดับสถานศึกษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักถึงเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักถึงเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

50.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

ร้อยละของจำนวนครั้งที่สมาชิกชมรม อย.น้อย ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนผ่านช่องทางเสียงตามสายหรือการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

50.00 70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

ร้อยละของสถิติการขาดเรียนของนักเรียนเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพลดลง

50.00 10.00
4 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนอย่างง่ายได้

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคราะห์สารเจือปนในอาหารภายในโรงเรียนได้ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เชิญวิทยากรจากหน่วยงานสาธารณสุข ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ความปลอดภัยทางด้านอาหารของคนไทยในปัจจุบัน

- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 300 บาท x 2 ชั่วโมง = 600 บาท
2. เชิญวิทยากรจาก รพ.สต.ทุ่งใหญ่ ให้ความรู้เรื่องการอ่านฉลากยา เครื่องดื่ม อาหาร และสาธิตการทดสอบอาหารด้วยชุดทดสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหารอย่างง่าย
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน x 300 บาท x 2 ชั่วโมง = 1,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1 มื้อ x 50 บาท x 50 คน = 2,500 บาท
- ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 50 คน = 2,500 บาท
3. ค่าชุดทดสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหารอย่างง่าย
- ชุดสอบสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) จำนวน 3 ชุด x 200 บาท = 600 บาท
- ชุดทดสอบซาลิซิลิค (สารกันรา) จำนวน 3 ชุด x 700 บาท = 2,100 บาท
- ชุดทดสอบฟอร์มาลีน (น้ำยาดองศพ) จำนวน 1 ชุด x 1,100 บาท = 1,100 บาท
- ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลเฟต (สารฟอกขาว) จำนวน 4 ชุด x 200 บาท = 800 บาท
- ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 1 ชุด x 1,200 บาท = 1,200 บาท
- ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ จำนวน 1 ชุด x 800 บาท = 800 บาท
- ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุด x 850 บาท = 850 บาท
- ชุดทดสอบไอโอดีนในเกลือ จำนวน 4 ชุด x 200 บาท = 800 บาท
4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1.5 x 3 เมตร) จำนวน 5 ป้าย x 675 บาท = 3,375 บาท
5. ค่าจัดทำแผ่นพับ/ใบความรู้ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนและชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง ( 4 ครั้ง x 80 ใบ x 15 บาท) = 4,800 บาท
6. ค่าเอกสาร จำนวน 100 ชุด x 8 บาท = 800 บาท

รวมเป็นเงิน 24,625 บาท

*ให้รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ตามรายจ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
  3. สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสิ่งปนเปื้อนด้วยชุดตรวจอย่างง่ายได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,625.00 บาท

หมายเหตุ :
*ให้รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ตามรายจ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
3. สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสิ่งปนเปื้อนด้วยชุดตรวจอย่างง่ายได้


>