กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง(วัดพระเงิน)

1. นางสาวณัฐฐิฐาอ่ำสกุล
2. นางเบ็ญจมาสอำนวยโยธิน
3. นางกาญจนา รอดจีน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง(วัดพระเงิน)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กก่อนวัยเรียน 2-4 ปี ที่มีปํญหาฟันผุ

 

10.00

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็น ปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก

การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง(วัดพระเงิน) ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึง ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครู ผู้ปกครอง ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

ร้อยละผู้ปกครองและเด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

20.00 30.00
2 2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลบางใหญ่ ในการดูแลและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพช่องปากในเด็ก

ร้อยละผู้ปกครอง ศูนย์เด็กเล็ก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับความร่วมมือในการป้องกันปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก

30.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 34
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1จัดการอบรม ครู ผู้ปกครอง เด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1จัดการอบรม ครู ผู้ปกครอง เด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรม เด็ก ผู้ปกครอง และบุคลกรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเรื่องของการดูแลสุขภาพทางช่องปาก โดยแพทย์ทันตกรรม จากโรงพยาบาลบางใหญ่

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรทันตแพทย์ จากโรงพยาบาลบางใหญ่) 1 ท่าน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 64 คนๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน 2,240 บาท

  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.5x2 เมตร เบ็นเงิน 500 บาท
    (หมายเหตุ) งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายแทนกันได้ โดยเบิกตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนดทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก ผู้ปกครอง และครู ได้รับความรู้ในการดูแลรักษาช่องปากเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3940.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการแปรงฟันอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วิทยากรสาธิตวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฟัง

  2. ให้เด็กได้ทดลองแปรงฟันโดยมีผู้ปกครองช่วยสังเกตการทำกิจกรรมการแปรงฟันและแนะนำเมื่อมีการทำที่ไม่ถูกวิธีให้กับเด็ก

  3. วิทยากรสรุปการทำกิจกรรมในการแปรงฟันและแนะนำครู ผู้ปกครองให้คอยหมั่นดูแลเด็กที่่บ้าน รวมทั้งที่โรงเรียนให้ได้รับการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

รายละเอียดของงบประมาณ

  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม แปรงสีฟันเด็ก ขนนุ่ม ขนาดเล็ก สำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม แก้วน้ำพลาสติกขนาดความสูงไม่เกิน 8 ซม. จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ยาสีฟันเด็ก ขนาด 40 กรัม จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ผ้าเช็ดหน้าเด็ก ขนาด 25x25 ซม. จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้วิธีการเเปรงฟันได้อย่างถูกต้องและสมำ่เสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,390.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายแทนกันได้ โดยเบิกตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนดทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครู ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
2.ผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ความร่วมมือในการดูแลและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพช่องปากในเด็ก


>