กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์เสี่ยง

 

44.09
2 2.ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย

 

29.57

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการเกษตรทำให้มีการผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้อย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าปริมาณและชนิดของสารเคมีที่นำมาใช้ในทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากโดยในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวโดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการใช้สารเคมีปริมาณ ๕,๔๗๓,๐๓๓.๑๐ กิโลกรัม คิดมูลค่าเป็นเงิน ๑๐,๕๓๐,๗๐๐,๖๔๒.๒๓ บาท และเพิ่มขึ้นเป็น ๖๐,๘๒๔,๑๖๓.๔๘ กิโลกรัม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ คิดเป็นมูลค่าเป็นเงิน ๒๐,๖๑๗,๗๐๕,๕๖.๗๐ บาท ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และจากสถิติจากสำนักโรคประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๗ พบว่า มีผู้ป่วยจากโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเป็น ๓,๗๕๓, ๗,๘๐๖, ๗,๕๐๖, และ ๗,๙๕๔ คนต่อปี โดยคิดเป็นอัตราป่วย ๕.๘๖, ๑๒.๑๑,๑๑.๕๙ และ๑๒.๒๑ ต่อแสนประชากร ตามลำดับสะท้อนให้เห็นว่า แนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ตำบลปันแต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง นอกจากเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการศึกษาอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวาง และพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้สามารถถูกสะสมในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การดูดซึมทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และการรับประทาน จึงได้มีเฝ้าระวังในกลุ่มผู้บริโภค ในปีงบประมาณ 2564 โดยการเจาะสารเคมีในเลือดให้กลุ่มดังกล่าว ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ทั้งสิ้นจำนวน ๕๕๘ คน มีผลดังนี้ เจาะเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ 4.66 ปลอดภัย ร้อยละ 21.68 เสี่ยง ร้อยละ 44.09 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 29.57 กรณีพบว่า ไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ 4.03 ปลอดภัย ร้อยละ 25.00 เสี่ยง ร้อยละ 17.74 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 53.23
จะเห็นได้ว่า ผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงนั้นมีสารเคมีในเลือดอยู่ในกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลข้างต้นสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคแสดงถึงความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตร
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแตขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป

ร้อยละ 10 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี

10.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับ ไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 337
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป - ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน ๑๐ ชุด ชุดละ ๙๕๐ บาท เป็นเงิน   ๙,๕๐๐ บาท     - ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 3 กล่อง กล่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าสำลีแอลกอฮอล์ กล่องละ 720 บาท จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 720 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 4๐0 ชุด เป็นเงิน 4๐0 บาท - ระยะเวลาดำเนินการ 1 เม.ย.65-31ส.ค.65 - ผลผลิต จำนวนผู้ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด - ผลลัพธ์ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และโรคไตเรื้อรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต จำนวนผู้ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
  • ผลลัพธ์ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และโรคไตเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13620.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
      - ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 4๐0 ชุด  เป็นเงิน 4๐0 บาท       - ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง รางจืด หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 4๐0 ชุด เป็นเงิน 4๐0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ผลลัพธ์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีและบริโภคที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>