กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแต
รหัสโครงการ 65-L3321-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 31 ส.ค. 2565 14,420.00
รวมงบประมาณ 14,420.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 337 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์เสี่ยง
44.09
2 2.ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย
29.57

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการเกษตรทำให้มีการผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้อย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าปริมาณและชนิดของสารเคมีที่นำมาใช้ในทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากโดยในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวโดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการใช้สารเคมีปริมาณ ๕,๔๗๓,๐๓๓.๑๐ กิโลกรัม คิดมูลค่าเป็นเงิน ๑๐,๕๓๐,๗๐๐,๖๔๒.๒๓ บาท และเพิ่มขึ้นเป็น ๖๐,๘๒๔,๑๖๓.๔๘ กิโลกรัม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ คิดเป็นมูลค่าเป็นเงิน ๒๐,๖๑๗,๗๐๕,๕๖.๗๐ บาท ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และจากสถิติจากสำนักโรคประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๗ พบว่า มีผู้ป่วยจากโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเป็น ๓,๗๕๓, ๗,๘๐๖, ๗,๕๐๖, และ ๗,๙๕๔ คนต่อปี โดยคิดเป็นอัตราป่วย ๕.๘๖, ๑๒.๑๑,๑๑.๕๙ และ๑๒.๒๑ ต่อแสนประชากร ตามลำดับสะท้อนให้เห็นว่า แนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเช่นกัน ตำบลปันแต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง นอกจากเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการศึกษาอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวาง และพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้สามารถถูกสะสมในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลานาน ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การดูดซึมทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และการรับประทาน จึงได้มีเฝ้าระวังในกลุ่มผู้บริโภค ในปีงบประมาณ 2564 โดยการเจาะสารเคมีในเลือดให้กลุ่มดังกล่าว ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ทั้งสิ้นจำนวน ๕๕๘ คน มีผลดังนี้ เจาะเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ 4.66 ปลอดภัย ร้อยละ 21.68 เสี่ยง ร้อยละ 44.09 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 29.57 กรณีพบว่า ไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ 4.03 ปลอดภัย ร้อยละ 25.00 เสี่ยง ร้อยละ 17.74 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 53.23 จะเห็นได้ว่า ผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงนั้นมีสารเคมีในเลือดอยู่ในกลุ่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลข้างต้นสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคแสดงถึงความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแตขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป

ร้อยละ 10 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี

10.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับ ไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชน(1 เม.ย. 2565-31 ส.ค. 2565) 13,620.00        
2 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(1 เม.ย. 2565-31 ส.ค. 2565) 800.00        
รวม 14,420.00
1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 337 13,620.00 1 13,620.00
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป 337 13,620.00 13,620.00
2 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 337 800.00 1 800.00
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 337 800.00 800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565 14:25 น.