กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากพูน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมีคู่ครัวคนพิการ ตำบลปากพูน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากพูน

ชมรมอาสาสมัครดูแลคนพิการ ต.ปากพูน

1.นางสาวพรทิพย์ แท่นทอง โทร.063 - 3034179
2.นางธนพรรณ นพรัตน์
3.นางบุญตา สุดภักดี
4.นางหนาบ สุดภักดี
5.นางเบญจพร ปานมาศ

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 หมู่ที่ 12 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

4.30
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

83.60

จากสถานการณ์จำนวนคนพิการวัยแรงงานที่อาศัยอยู่ในตำบลปากพูนไม่มีงานทำ พื้นที่ดำเนินการ จำนวน7 หมู่บ้าน แยกจำนวนคนพิการเป็นรายหมู่ คือ หมู่ที่ 1 จำนวน 141 คน หมู่ที่ 3 จำนวน 60 คน หมู่ที่ 4 จำนวน 91 คน หมู่ที่ 6 จำนวน 46 คน หมู่ที่ 10 จำนวน 43 คน หมู่ที่ 11 จำนวน 45 คน หมู่ที่ 12 จำนวน 27คน รวม 453 คน คิดเป็น 47.68% ของจำนวนคนพิการพื้นที่ดำเนินการ โดยส่วนมากจะอยู่ติดบ้านไม่ออกสู่สังคม” ข้อมูลจาก ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองปากพูน จากการร่วมมือของทุกหน่วยงานก่อให้เกิดการแจกจ่ายสวัสดิการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เช่นเบี้ยคนพิการเดือนละ 800 บาท โดยจากการศึกษาของชมรมอาสาสมัครดูแลคนพิการ พบว่า ยังมีคนพิการจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการมีงานทำ ทำให้คนพิการหลายคนไม่ได้รับโอกาส ข้อจำกัดในเรื่อง ความสามารถ อายุ เพศ การศึกษา เงื่อนไขเวลา สถานที่ ทำให้คนพิการในพื้นที่ตำบลปากพูนขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ
จากปัญหาข้างต้น กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ชมรมอาสาสมัครดูแลคนพิการตำบลปากพูน ได้จัดทำ “โครงการปลูกผักอินทรีย์คู่ครัวคนพิการ” โดยมีเป้าหมายคือ สร้างโอกาส ให้คนพิการในตำบลปากพูนดำเนินการปลูกผักในพื้นที่บ้านของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ว่าง ระเบียง หรือริมรั้ว เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกผักอินทรีย์ สามารถนำมารับประทานสด หรือ เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสารเคมี เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของคนพิการและครอบครัว การปลูกผักไว้บริโภคเองในครัวเรือน จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้คนพิการและครอบครัวสามารถพึ่งตนเองด้านอาหารได้มากขึ้น ทั้งช่วยลดรายจ่าย ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนในชุมชน แถมผักยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย เพราะปัจจุบันอาหารต่างๆ ที่คนพิการซื้อมาประกอบอาหาร มักเต็มไปด้วยสารเคมี ทั้งยังผ่านกระบวนการแปรรูปมาอีกหลายขั้นตอน ทำให้คุณค่าทางอาหารน้อยลง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาวิกฤติอาหาร ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาโดยรวมของสังคมอีกด้ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละ 80 ครัวเรือนคนพิการที่เข้าร่วมสามารถปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน

4.30 10.00
2 เพื่อให้สมาชิกในครัวเรือนคนพิการกินผักผลไม้ได้ครบตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

ร้อยละ 80 ของสมาชิกในครัวเรือนคนพิการกินผักผลไม้ได้ครบตามเกณฑ์ 400 กรัม/คน/วัน

83.60 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน/อาสาสมัคร1 15
ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล คนพิการ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงาน 5 คน และกลไกขับเคลื่อน10 คนเพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆในการดำเนินงานแก่คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน โดยหัวหน้าคณะทำงาน
2.แบ่งบทบาทหน้าที่และวางแผนการดำเนินงาน
3.ออกแบบเก็บข้อมูลการปลุก และการกินผัก
งบประมาณ
1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 540 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 375 บาท
3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประชุม เช่น กระดาษ ปากกา เทปกาว ฯลฯ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2565 ถึง 28 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1.ได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้พิการ จำนวน30 คน
2.ได้กลุ่มผู้ดูแลผู้พิการ จำนวน 30 คน
3.มีแผนการดำเนินงานโครงการรปลูกผักปลอดสารเดมี
4.เกิดกลไกติดตามและการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ 10 คน
5.มีแบบเก็บข้อมูล
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. คณะทำงาน และกลไกขับเคลื่อนโครงการมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และให้ความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1415.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้พิการ จำนวน30 คน และกลุ่มผู้ดูแลผู้พิการ จำนวน 30 คน เพื่อสร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์ กิจกรรม และผลผลัพธ์โครงการ
2.แบ่งกลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ดู และกลไกขับเคลื่อนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆละ 14 คน (6+6+2) เพื่อสะดวกต่อการขับเคลื่อนและติดตามผล
3.กลุ่มเป้าหมายในโครงการกำหนดกติกาในการปลูกผักปลอดภัยร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางไปสู่ผลลัพธ์ การปลูกปลอดภัย และการกินผัก
4.เก็บข้อมูลการปลูกผักในครัวเรื่อน และการกินผักของสมาชิกในครัวเรือน โดยใช้แบบเก็บข้อมูลจากผู้ข้าร่วมประชุม

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างผู้พิการ 30 คน และกลุ่มผู้ดูแลผู้พิการ 30 คน กลไกขับเคลื่อน 10 คน และคณะทำงาน 5 คน รวม 75 คนx 25 บาท เป็นเงิน 1875 บาท
2.ค่าวิทยากรกระบวนการ 3 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2565 ถึง 8 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) 1.ได้กติการการปลูกผักปลอดภัยในชุมชน กติกากลุ่ม
2. เกิดกลุ่มย่อยเพื่อสะดวกต่อการดำเนินงาน และการติดตามผล
3. ได้ข้อมูลสถานการณ์การปลูกผักปลอดภัย และข้อมูลการกินผัก ก่อนเริ่มโครงการ

ผลลัพธ์ (Outcome)
1. กลุ่มเป้าหมายรับรู้ข้อมูลสถานการณ์การปลูกผักปลอดภัย และข้อมูลการกินผัก และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการปลูกผักปลอดภัย เกร็ดความรู้การทำเกษตรปลอดภัยโดยแบ่งเป้น 3 ฐานการเรียนรู้และปฏิบัติการ
- ฐานการเตรียมดิน การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
- ฐานการปลูกและการขยายพันธุ์
- ฐานการทำสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ สารชีวะพันธุ์
2.มอบวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปลูก (เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ถาดเพาะกล้า)

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
3. ค่าวิทยากรประจำฐาน 3 คนๆละ 3 ชั่วโมง ๆละ 1500 บาท เป็นเงิน 4500 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการสาธิต การเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ 3 ฐานเป็นเงิน 2160 บาท
4.1 ค่าวัสดุอุปกรณ์ ฐานการเตรียมดิน การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นเงิน 1400 บาท
- มูลวัว จำนวน 3 กระสอบ x 70 บาท เป็นเงิน 210 บาท
- แกลบดำ จำนวน 4 กระสอบ x 70 บาท เป็นเงิน 280 บาท
- ขุยมะพร้าว จำนวน 3 กระสอบ x 70 บาท เป็นเงิน 210 บาท
- รำละเอียด จำนวน 2 กระสอบ x 230 บาท เป็นเงิน 460 บาท
- บัวรดน้ำขนาด 5 ลิตร จำนวน 2 ใบ x 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท
4.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์ ฐานการปลูกและการขยายพันธุ์ เป็นเงิน 380 บาท
- ถาดพลาสติกสูงประมาณ 1 นิ้ว หลุมเหลี่ยม 200 หลุม(สำหรับอนุบาลต้นกล้า) จำนวน 4 ชิ้น x 35 บาท เป็นเงิน 140 บาท
- ถาดพลาสติกเล็ก หรือกล่องถนอมอาหารก็ได้ (สำหรับเพาะเมล็ด) จำนวน 4 กล่อง x 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
- เมล็ดผักที่จะทำการเพาะจำนวน 4 ชนิดx 120 บาท เป็นเงิน 80 บาท
- ฟ๊อกกี้ (ที่สเปรย์น้ำ) จำนวน 4 ชิ้นx 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
4.3 ค่าวัสดุอุปกรณ์ ฐานการทำสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ สารชีวะพันธุ์เป็นเงิน 380 บาท
- ถังพลาสติก ขนาด 20 ลิตร มีฝาปิด (สำหรับทำน้ำหมักสารไล่ศัตรูพืชชีวภาพ สารชีวะพันธุ์) จำนวน 3 ใบ x 100 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- ฟ๊อกกี้ (ที่สเปรย์น้ำ) จำนวน 4 ชิ้นx 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
5. สมุดจดบันทึก จำนาน 75 เล่ม x 5 บาท เป็นเงิน 375 บาท
6. ปากกาลูกลื่น จำนาน 75 ด้าม x 5 บาทเป็นเงิน 375 บาท
7. ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 45 ชุด (75 คน) x 5 ชนิด x 20 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
8. ค่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 45 ถุง (75 คน) x 35 บาท เป็นเงิน 1,575 บาท
9. ค่าถาดเพาะกล้า/เพาะเมล็ด หนา 0.8 mm 72 หลุม จำนวน 45 ถาด x 25 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน
2. กลุ่มเป้าได้รับสนับสนุนทุกครัวเรือน( 45 ครัวเรือน)

ผลลัพธ์ (Outcome)
1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และสามารถปฏิบัติเพื่อปลูกผักปลอดภัยในครัวเรือนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21360.00

กิจกรรมที่ 4 กลไกขับเคลื่อนและคณะทำงานเยี่ยมบ้านติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
กลไกขับเคลื่อนและคณะทำงานเยี่ยมบ้านติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กลไกขับเคลื่อนและคณะทำงานเยี่ยมบ้านติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแต่ละครัวเรือนของคนพิการ
คณะทำงานดำเนินการติดตามการปลูกผักของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเป็นระยะในระหว่างดำเนินการ
เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละครัวเรือนอย่างน้อย 4ครั้ง
2.การเยี่ยมครั้งสุดท้ายให้เก็บข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยในครัว และกินผักของสมาชิกในครัวเรือนด้วย โดยใช้แบบเก็บข้อมูลเดียวกันกับการเก็บในกิจกรรมที่ 2 ข้อ 4
3.ประกาศครัวเรือนต้นแบบบุคคลต้นแบบผ่านสื่อช่องทางต่างๆ (หอกระจายข่าว/FB./กลุ่มไลน์)มอบป้ายประกาศครัวเรือนต้นแบบมอบเกียรติบัตรคนต้นแบบ

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงานและกลไก 15 คน ๆละ 4 มื้อ(4 ครั้ง) มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
2.ค่าป้ายประกาศและเกียรติบัตร 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
- เกิดเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมโครการ

ผลลัพธ์ (Outcome)
- มีข้อมูลผลการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของคนพิการแต่ละครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประโยชน์ทางกายภาพ
- การได้ส่งเสริมสุขภาพร่างกายคนพิการให้แข็งแรงเช่นจากกิจกรรมการปลูกต้นไม้ รดน้ำ พรวนดิน โดยจะเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ การสอดประสานกันของแขนทั้งสองข้าง
2.ประโยชน์ทางด้านจิตใจ
- ประโยชน์ทางด้านนี้คือคนพิการจะรู้สึกเป็นอิสระและผ่อนคลาย เสริมสร้างคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และช่วยระบายความเครียดอีกด้วย
3.ประโยชน์ทางด้านสังคม
- ในด้านนี้จะมีส่วนช่วยเปิดโอกาสให้คนพิการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม การร่วมมือกันของคนหลายคน เรียนรู้ถึงความสำเร็จและความล้มเหลวจากงาน ได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มเติมจากบุคคลอื่น


>