กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโควิค-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

50.00

โควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรกคือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระหว่างห่างทางกายภาพ โรงพยาบาลต้องสร้างระบบบริการในรูปแบบใหม่ ๆ ได้แก่ การตรวจผ่านระบบออนไลน์ การส่งยาทางไปรษณีย์ เป็นต้น อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน ของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร งานสร้างเสริมสุขภาพจึงเห็นโอกาสที่จะให้บุคลากรและนักศึกษาได้บอกเล่าประสบการณ์ในช่วงวิกฤติโควิด-19 โดยส่งผ่านด้วยงานเขียนหรือคลิปวิดีโอสั้น ๆ เป็นข้อคิด ข้อเสนอแนะ เพื่อถอดบทเรียนถึงผลกระทบของโควิด-19 และเป็นข้อมูลที่นำมาใช้ในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของคนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

50.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/06/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19 ที่ถูกวิธีและเหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19 ที่ถูกวิธีและเหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลกาวะ
  2. ประชาสัมพันธ์โรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19 ให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือนถึงประโยชน์และโทษของการได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน
  3. จัดบริการค้นหาและฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชน โดยงบประมาณ
  4. ค่าอาหารกลางวันในโครงการ ฯ 160 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 8,000 บาท
  5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในโครงการ ฯ 160 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 8,000 บาท
  6. ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ในการโครงการ 160 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรในพื้นที่ได้รับความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายของการติดเชื้อโวรัสโคโรน่าฌควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยโดยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโนน่าโคสิด-19 ในการป้องกันไม่ได้เกิดโรค
3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19


>