กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโควิค-19
รหัสโครงการ 65-50115-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเจ๊ะไซต๊ะ เจ๊ะนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2565 11 มี.ค. 2565 20,800.00
รวมงบประมาณ 20,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรกคือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระหว่างห่างทางกายภาพ โรงพยาบาลต้องสร้างระบบบริการในรูปแบบใหม่ ๆ ได้แก่ การตรวจผ่านระบบออนไลน์ การส่งยาทางไปรษณีย์ เป็นต้น อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน ของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร งานสร้างเสริมสุขภาพจึงเห็นโอกาสที่จะให้บุคลากรและนักศึกษาได้บอกเล่าประสบการณ์ในช่วงวิกฤติโควิด-19 โดยส่งผ่านด้วยงานเขียนหรือคลิปวิดีโอสั้น ๆ เป็นข้อคิด ข้อเสนอแนะ เพื่อถอดบทเรียนถึงผลกระทบของโควิด-19 และเป็นข้อมูลที่นำมาใช้ในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของคนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

50.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,800.00 1 20,800.00
1 มี.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19 ที่ถูกวิธีและเหมาะสม 0 20,800.00 20,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยโดยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโนน่าโคสิด-19 ในการป้องกันไม่ได้เกิดโรค
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรน่าโควิด-19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 00:00 น.