กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเท่าทันสื่อรอบรู้ด้านสุขภาพ กาย จิต ดี ห่างไกลภัยออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

ชมรมรักสุขภาพตำบลตะลุโบะ

1. นางสาวซัยนับกาเกาะ
2. นายสมันสาเมาะ
3. นางสาวกอฟเซาะ สอเฮาะ
4. นางสาวมารีแยราโมง
5. นางสาวนัยซะมามะ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อันเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ในขณะนี้เกือบร้อยละ 90 ของมนุษย์ในปัจจุบันได้มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์จากสถิติต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นั้นเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสะท้อนให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้ใช้เวลาของตนเองเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ซึ่งผลกระทบที่ตามมาหากขาดการควบคุมดูแลจากผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องก็อาจส่งผลเสียต่อเด็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียเหล่านั้น อย่างไรก็ตามสมาร์ทโฟนยังคงเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาในประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่มากกว่าพันล้านเว็บไซต์ทั่วโลกนั้น จะมีทั้งส่วนของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาที่ก่อให้เกิดโทษ โดยอินเทอร์เน็ตถือเป็นสื่อที่ควบคุมดูแลยากที่สุดทั้งในแง่ของเนื้อหาสาระ และผู้รับสาร ซึ่งทำให้เด็กหรือเยาวชนที่มีวุฒิภาวะไม่เพียงพอต่อการพิจารณาใช้สื่อโซเชี่ยลให้ถูกวิธีอันทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก เยาวชน และคนในสังคมได้ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบกับการศึกษา หรือผลกระทบต่อสังคม ต่อครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันการเข้าถึงโซเชี่ยลมีเดียไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแท็บเล็ตเท่านั้น ผสานกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายของผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การเข้าสู่โซเชี่ยลมีเดียเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างง่ายดายเพราะใครๆก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ใน ทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่ขณะเดินทาง ดังนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในสังคมซึ่งเริ่มจากวัยเด็กจนถึงวัยทำงานโดยเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นช่องทางในการสื่อสารที่มีความหลากหลายรูปแบบ โดยมีทั้งสื่อที่ช่วยพัฒนาและสื่อที่เสริมสร้างความรุนแรงปะปนกันอยู่ในการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ได้ทำให้เด็กและคนในสังคมเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกทักษะทางสมองและทักษะทางความคิดได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องมีการแนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาทางพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป จากความสำคัญดังกล่าวชมรมรักสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อปลอม เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ และสื่อบทความที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ร้อยละ ๙0 ประชาชนในตำบลตะลุโบะมีความรู้เท่าทันสื่อปลอม เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ และสื่อบทความที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

0.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มกลไกการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และบทความที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ร้อยละ  ๙๐  เกิดกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และบทความที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพในพื้นที่ตำบลตะลุโบะ

0.00 90.00
3 เพื่อรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการเสพสื่อ ในช่องทางออนไลน์

ร้อยละ 95 ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะลุโบะมีตระหนักและความรู้ความเข้าใจเพื่อรู้เท่าทันสื่อด้านสุขภาพและปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ บทความ ที่ผิดกฎหมาย

0.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง เท่าทันสื่อรอบรู้ด้านสุขภาพ กาย จิต ดี ห่างไกลภัยออนไลน์

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง เท่าทันสื่อรอบรู้ด้านสุขภาพ กาย จิต ดี ห่างไกลภัยออนไลน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร ๑ คนๆละ ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน๑,๘๐๐.-บาท -ค่าวิทยากรกระบวนการ ๓ คน จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน๕,๔๐๐.-บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน5๐คนๆ5๐.-บาท
เป็นเงิน2,5๐๐.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน5๐คนๆละ๒มื้อๆละ๓๕.-บาทเป็นเงิน3,5๐๐.-บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาดกว้าง1เมตรยาว3เมตรจำนวน๑ผืนเป็นเงิน ๙๐๐.-บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน3,0๐๐.-บาท


เป็นเงิน17,1๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ เรื่อง  เท่าทันสื่อรอบรู้ด้านสุขภาพ กาย จิต ดี ห่างไกลภัยออนไลน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการเสพสื่อในช่องทางออนไลน์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการเสพสื่อในช่องทางออนไลน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เดินรณรงค์ จำนวน 5๐ คน x ๓๕ บาท x ๑ ครั้ง เป็นเงิน 1,75๐ บาท -แผนพับให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการเสพสื่อในช่องทางออนไลน์ จำนวน ๑๐๐ แผ๋น แผนละ ๗ บาทเป็นเงิน ๗๐๐บาท -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาดกว้าง1เมตรยาว3 เมตรผืนละ 900 บาทจำนวน๕ผืน เป็นเงิน 4,๕๐๐.บาท

รวมเป็นเงิน6,95๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมรณรงค์มีจิตสำนึกในการเฝ้าระวังและป้องกันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการเสพสื่อในช่องทางออนไลน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะลุโบะ มีความรู้เท่าทันสื่อปลอม
-เกิดเครือข่ายเด็กดีมีศีลธรรม มีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
-ทำให้เยาวชนได้ร่วมเรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาการพัฒนาตนเองและสังคม


>