แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. น.ส.มยุรีสมใจ
2. นางลำเนาว์ยอดกระโทก
3. นายเสน่ห์ค้าสม
4. น.ส.อ้อมพร พุ่มร่วมใจ
5. น.ส.ละเอียดฝอยทอง
ปัญหาการขาดการทำกิจกรรมทางกายไม่ได้มีปัญหาเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของเด็กวัยเรียนอีกด้วย นิยามกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) เป็นการเคลื่อนไหวหรือออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงานหรืองานบ้าน 2) การเดินทาง 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การกีฬา และการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ พิจารณาได้จากเกณฑ์ 2 ประการได้แก่ (1) ระดับความหนักเบาหรือความแรงของการมีกิจกรรมทางกาย และ (2) ระยะเวลาของการมีกิจกรรมทางกาย โดยระดับความหนักเบาหรือความแรงของการมีกิจกรรมทางกาย แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับเบา เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อย เช่น การยืน การเดินระยะสั้นๆ การทำงานบ้าน 2) ระดับปานกลาง เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยปานกลาง หัวใจเต้นเร็วขึ้น จับชีพจรได้ 120-150 ครั้งต่อนาทีโดยประมาณสังเกตจากการที่ยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน การเดินขึ้นลงบันได 3) ระดับหนัก เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก จนไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ หัวใจเต้นเร็วมาก จับชีพจรได้มากกว่า 150ครั้งต่อนาทีขึ้นไปโดยประมาณ เช่น การขุดดินปลูกพืชทางการเกษตร การแบกหามของที่มีน้ำหนักมาก การเต้นแอโรบิก การวิ่งเร็ว การตีแบดมินตัน การเตะฟุตบอล เป็นต้น นอกจากดูระดับความหนักเบาแล้ว จะต้องคำนึงถึงระยะเวลาของการมีกิจกรรมทางกาย ที่เพียงพอ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย โดยเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน ประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอจะช่วยในมิติความแข็งแรงของร่างกาย การสร้างภูมิคุ้มกันโรค สภาพจิตใจและอารมณ์ การกระตุ้นและยกระดับการเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน พบว่าประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ พัฒนาทักษะที่จำเป็นตามช่วงวัยและกระตุ้นการเรียนรู้ และเสริมความแข็งแรงและป้องกันภาวะโรคอ้วนในเด็ก
จากการวิเคราะห์ต้นทุนและข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกายของนักเรียน พบว่า โรงเรียนชุมชนบ้าน แม่ใสมีต้นทุนที่ดี ได้แก่ มีแกนนำนักเรียนด้านสุขภาพ มีชมรมกีฬาหลายประเภทให้นักเรียนมีทางเลือกเล่นกีฬาที่ตนเองชอบ มีสนามกีฬามีพื้นที่กว้างขวาง เป็นโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนคำพ่อสอน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ และข้อมูลสถานการณ์การทำกิจกรรมทางกายของนักเรียนอายุ 5-17 ปี มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 136 คน บุคลากรทางการศึกษา 14 คน มีเด็กที่มีกิจกรรมทางกายแยกออกได้ดังนี้ ชมรมฟุตบอล 30 คน ชมรมวอลเล่ย์บอล 14 คนตะกร้อ 12คน ชมรมวิ่ง 10คนเด็กเดินทางมาโรงเรียนโดยปั่นจักรยาน7 คน เดินมาเอง8คนเด็กที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง84 คน และจากการสรุปรายงานผลภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนพบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3นักเรียนมีภาวะน้ำหนักมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน (อ้วน เริ่มอ้วนหรือ ท้วม) ร้อยละ15.44นักเรียนมีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ( สมส่วน ) ร้อยละ69.85 และนักเรียนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( ค่อนข้างผอมและผอม ) ร้อยละ 14.71ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็ก โดยพบว่าเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ มักจะเรียนรู้ได้ช้า ส่งผลให้ผลการเรียนไม่ดี จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทั้งระบบ คือ กลุ่มนักเรียนที่ อ้วน เริ่มอ้วน ท้วมค่อนข้างผอม ผอม และส่งเสริมกลุ่มนักเรียนที่มีร่างกายสมส่วนไม่ให้อ้วนหรือผอม โดยมีการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างยั่งยืน
โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใสเห็นว่าปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนดังกล่าวเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องรีบดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อให้ นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจและได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพทางด้านภาวะโภชนาการให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานโดยใช้กิจกรรมทางกายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ
- 1. จัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกาย/ คัดกรองนักเรียน/จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน/ส่งเสริมนักเรียนและบุคลากร ครูทำกิจกรรมทางกายรายละเอียด
1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองเพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจสถานการณ์ปัญหาและโครงการ
- จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
- สนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีการทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักโดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
5.1กิจกรรมการวิ่ง เดิน ทุกวันอย่างน้อย 30 นาที
5.2กิจกรรมการเต้นแอโรบิควันจันทร์อย่างน้อย 30 นาที
5.3กิจกรรมการเล่นกีฬาประเภทต่างๆตามความสนใจในวันอังคาร
5.4กิจกรรมการเล่นฮูล่าฮูป /การกระโดดเชือกหรือกระโดดหนังยางวันพฤหัสบดี
5.5กิจกรรมการแข่งขันกีฬาห้องเรียนในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน จำนวน 3 ครั้ง
- การติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการโดยจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายทุกวันและประเมินสุขภาพก่อนและหลังการดำเนินการการจัดกิจกรรมทางกายโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนในโครงการชั้น ป.1-6 และชั้น ม.1-3 แล้วเทียบกับตารางของกรมอนามัยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 1เดือน / 1 ครั้ง ส่วนเด็กอ้วนติดตามเยี่ยมบ้านและพบผู้ปกครองทุกราย
- สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทราบ
งบประมาณ
จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใส จำนวนเงิน22,050 บาท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 6.1ค่าใช้จ่ายกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียน แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 ระดับมัธยมและครูฯ จำนวน 64 คน และรุ่นที่ 2 ระดับประถมศึกษา จำนวน 86 คน
- การอบรมรุ่นที่ 1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 64 คน x50 บาท เป็นเงิน3,200 บาท - การอบรมรุ่นที่ 2 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 86 คน x50 บาท เป็นเงิน4,300 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 500 บาท x 2 รุ่นเป็นเงิน3,000 บาท - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตรๆละ 100 บาทเป็นเงิน300 บาท 6.2. ค่าใช้จ่ายการกิจกรรมการแข่งขันกีฬาห้องเรียนในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน จำนวน 3 ครั้ง - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มและผลไม้ 3 มื้อ(ครั้ง) x 150 คน x 25 บาทเป็นเงิน 11,250บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น22,050 บาท(สองหมื่นสองพันห้าสิบบาทถ้วน)
งบประมาณ 22,050.00 บาท - 2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและจัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกายรายละเอียด
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและจัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกา
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. คัดกรองนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆรายละเอียด
คัดกรองคือกลุ่มภาวะอ้วนเริ่มอ้วน ท้วม สมส่วน ค่อนข้างผอม และ ผอมโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนชั้น ป.1-6 และชั้น ม.1-3 แล้วเทียบกับตารางของกรมอนามัย
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 7 ก.ค. 2568 ถึง 7 ก.ค. 2568
รวมงบประมาณโครงการ 22,050.00 บาท
8.1 นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใสระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ ระดับชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3และครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง 8.2 นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น 8.3 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเอาใจใส่ในการเสริมสร้างสุขภาวะของตนเองเพิ่มขึ้น
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................