กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ NCD ฟันสวย ยิ้มใส สุขภาพฟันดี ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

นายพิชิตชัยเจ๊ะมะ
นางสาวอาซูรา มาหามะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรายงานการวิจัยพบว่าสาเหตุหลักเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมทั้งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นประจำก็จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งโรคมะเร็งต่างๆได้ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งช่องปาก เป็นต้น และสาเหตุการเสียชีวิตบางโรคก็มาจากการติดเชื้อในช่องปาก เนื่องจากช่องปากของคนเรามีเชื้อโรคและจุลินทรีย์อยู่มากมาย เมื่อเป็นโรคในช่องปาก เหงือกเป็นหนอง ก็นำไปสู่การติดเชื้อของอวัยวะสำคัญในร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมจนเสียชีวิตได้ เช่น ปอดอักเสบจากการสำลัก การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปริทันต์อักเสบ โรคมะเร็งช่องปาก เป็นต้น โดยทำการศึกษาในผู้ที่มารับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี พบว่า ความชุกของการสูญเสียฟันในกลุ่มประชากรที่ศึกษา คิดเป็นร้อยละ 69.56 ในกลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีความชุกในการสูญเสียฟันที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 2 ซี่ และมีจำนวนฟันคู่สบในฟันหลังน้อยกว่า 4 คู่ แสดงถึงการสูญเสียฟันในการบดเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ผลกระทบจากการใช้ยารักษาก็ส่งผลต่อสภาวะในช่องปากด้วย เช่น ภาวะปากแห้ง น้ำลายไหลน้อย โรคเหงือกอักเสบ เป็นต้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ปี 2563 พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากคิดเป็นร้อยละ 75.12 และในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 76.26 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับโรคปริทันต์เป็นส่วนใหญ่ รองลงมา คือ ปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันผุ และการสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากในกลุ่มดังกล่าว โดยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ตัวบุคคล เพื่อขยายความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่กลุ่มผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้คณะผู้ดำเนินงานได้ยึดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาในการเพิ่มความสามารถของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มผู้ป่วยตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพพร้อมทั้งได้ปรับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อลดปัญหาโรคในช่องปาก และทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ผู้ป่วยเรื้อรังมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีการบริหารใบหน้า และลิ้นที่ถูกวิธี

ผู้ป่วยเรื้อรังมีการบริหารใบหน้า และลิ้นที่ถูกวิธีร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีทักษะการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีและสะอาด

ผู้ป่วยเรื้อรังมีทักษะการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีและสะอาด ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน                                            เป็นเงิน  2,400  บาท     -  ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน                                            เป็นเงิน  4,800  บาท -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 95 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท        เป็นเงิน  4,750  บาท
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 95 คน จำนวน  ๒ มื้อๆละ 25 บาท                                        เป็นเงิน  4,750  บาท
-  ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 80 เล่มๆละ 10 บาท        เป็นเงิน   800    บาท
    -  ค่าปากกาลูกลื่น จำนวน 80 ด้ามๆละ 5 บาท                                            เป็นเงิน   400    บาท     -  ค่ากระดาษโฟโต้ใช้สำหรับปริ้นเรื่อง การแปรงฟัน เพื่อแปะที่บ้านผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 80 แผ่นๆละ 5 บาท                                            เป็นเงิน   400    บาท     -  ค่าถุงผ้าลดโลกร้อนขนาด 12 x 14 นิ้ว จำนวน 80 ใบๆละ 20 บาท                                            เป็นเงิน  1,600  บาท
    -  ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 80 แผ่นๆละ ๐.๕๐ สตางค์
       เป็นเงิน     40    บาท
    -  ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม (แผ่นพับเรื่อง การป้องกันโรคฟันผุและดูแลสุขภาพช่องปาก) จำนวน 80 แผ่นๆละ 1 บาท (หน้า-หลัง)                   
       เป็นเงิน     80    บาท -  ค่าคู่มือ และสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 80 เล่มๆละ 60 บาท                                            เป็นเงิน  4,800  บาท -  ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน        เป็นเงิน   750   บาท     -  ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้ ขนาด 80 ซม. x 180 ซม. จำนวน 2 ผืนๆละ 360 บาท                                            เป็นเงิน   720   บาท
                รวมเป็นเงิน 26,290 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. อัตราการเกิดโรคฟันผุของผู้ป่วยเรื้อรังลดลง     ๒. ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้ 3. ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างทั่วถึง     4. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26290.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยใช้เม็ดสีย้อมฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยใช้เม็ดสีย้อมฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าแปรงสีฟันสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังในการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน จำนวน 80 ด้ามๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000  บาท
-  ค่ายาสีฟันสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังในการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน ขนาด 40 กรัมจำนวน 12 กล่องๆละ 35 บาท เป็นเงิน  420  บาท -  ค่าน้ำยาบ้วนปากสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังขนาด ๔๕ มิลลิลิตร จำนวน 80 ขวดๆละ 25 บาท                                     เป็นเงิน 2,000 บาท -  ค่าไหมขัดฟันแบบสอดใต้เหงือก จำนวน 80 อันๆละ 60 บาท                                     เป็นเงิน 4,800 บาท -  ค่าเม็ดสีย้อมฟัน จำนวน 2 กระปุกๆละ 1,500 บาท                                     เป็นเงิน 3,000 บาท -  ค่าแก้วพลาสติกใสลอนสำหรับแปรงฟัน จำนวน 80 ใบ จำนวน 2 แพ็คๆละ 50 บาท                                        เป็นเงิน   100 บาท -  ค่าโมเดล Dental Pulp Disease Clinical จำนวน 1 ชุดๆละ 3,000 บาท
เป็นเงิน 3,000 บาท                     รวมเป็นเงิน 15,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราการเกิดโรคฟันผุของผู้ป่วยเรื้อรังลดลง
  2. ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้
  3. ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างทั่วถึง
  4. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,610.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการเกิดโรคฟันผุของผู้ป่วยเรื้อรังลดลง
2. ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนได้
3. ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างทั่วถึง
4. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน


>