กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคลินิก NCD3 หมอ ห่วงใย ใส่ใจ ไตคุณ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

โรงพยาบาลปากช่องนานา(โดยคลินิกครอบครัวหนองสาหร่าย)

ห้องประชุมคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่สามารถควบคุมได้และ ไม่ได้ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อายุ กรรมพันธุ์ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา

หากประชาชนมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่ เหมาะสม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยแล้วต้องรับ การรักษาโดยการรับยาต่อเนื่องตลอดชีวิตและหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ รวมถึงภาวะไตเรื้อรังด้วย จากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทย สมาคมโรคไต คาดการณ์ว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน คิดเป็น 17.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายที่ต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต 2 แสนคน มี ผู้ป่วยรายใหม่มีภาวะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นปีละ 7,800 คน รอการผ่าตัดไตใหม่ประมาณ 50,000 คน ได้รับการผ่าตัด ปลูกถ่ายไตเพียงปีละ 500 คน เท่านั้น โดยใช้เวลารอประมาณ 3 - 4 ปี ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายในการ รักษาเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้า ท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 3 พันล้านบาท ปัจจุบันภาครัฐให้สิทธิประชาชนทุก คนในการฟอกไตผ่านช่องท้องฟรี นอกจากนี้เมื่อป่วยยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรก ซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติด้วย คลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 490 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 877 คน และ ผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 136 คน จากการคัดกรอง ภาวะโรคไตเรื้อรัง (ChronicKidneyDisease = CKD) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ผู้ป่วย โรคเบาหวานพบภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 13.67 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 5.93 และผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 13.23 ของผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย จึงเล็งเห็น ความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันและ ชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาคลินิกชะลอไตเสื่อมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย

13.67

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรค NCD และภาวะแทรกซ้อนทางได จากโรค NCD

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรค NCD และภาวะแทรกซ้อนทางไต จากโรคNCD
2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมกับโรคไต
3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถเลือกใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและสามารถป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรค NCD ได้อย่างเหมาะสม

13.67 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค NCD ภาวะแทรกซ้อน ระยะของโรคไตเสื่อม และการชะลอไตเสื่อมด้วยอาหารและสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค NCD ภาวะแทรกซ้อน ระยะของโรคไตเสื่อม และการชะลอไตเสื่อมด้วยอาหารและสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. จัดทําแผนงานโครงการ/เสนอผู้บริหาร 2. ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีค่า eGFR <60
3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค NCDภาวะแทรกซ้อน ระยะของโรคไตเสื่อม และการชะลอไตเสื่อม ด้วยอาหารและสมุนไพร
4. จัดกิจกรรม 3 อ. 3 ส. 1 น. ในคลินิกหมอครอบครัวสวดมนต์ ทำสมาธิ สนทนาธรรมและนาฬิกาชีวิต ทุกเช้าวันที่มีคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง
5. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไต 6. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามการดูแลสุขภาพ 3 หมอห่วงใย ใส่ใจ ไตคุณ จากคลินิก หมอครอบครัวหนองสาหร่าย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่ายที่มีค่า eGFR <60 จํานวน 100 คน
ระยะเวลาดำเนินการ มีนาคม2565 - กันยายน 2565 สถานที่ดำเนินการ ณ ห้องประชุมคลินิกหมอครอบครัวหนองสาหร่าย งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างจัดอบรม 1 วัน จํานวน 100 คนๆละ 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม จํานวน 100 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทําฐาน เป็นเงิน 4,000 บาท 4. ค่าวิทยากรอบรม ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - วิทยากรบรรยาย 1 ท่าน 2 ชม. (600 X 2 = 1,200 )
- วิทยากรประจําฐาน 3 ฐาน ๆ ละ 1 ท่านๆ ละ 2 ซม. ( 600 x 3 x 2 = 3,600 )
                              รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,800 บาท (สองหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องโรคภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรค NCD ร้อยละ 80
2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องอาหารชะลอโรคไตเสื่อม ร้อยละ 80
3. ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการเลือกใช้สมุนไพรให้เหมาะสมกับตนเอง ร้อยละ 80
4. อัตราผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องโรคภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรค NCD ร้อยละ 80
2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องอาหารชะลอโรคไตเสื่อม ร้อยละ 80
3. ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องการเลือกใช้สมุนไพรให้เหมาะสมกับตนเอง ร้อยละ 80
4. อัตราผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


>