กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวประปา ปีงบประมาณ2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวประปา ปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

คลินิกหมอครอบครัวประปา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปากช่องนานา

พื้นที่รับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวประปา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 มีการแพร่ระบาดในหลายประเทศ

ถึงวันนี้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 "โควิด-19" ยังคงมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ล่าสุด(4 พฤศจิกายน 2564) ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวจสาธารณสุข(สธ.) รายงานว่า ผู้ป่วยยืนยันรวมในหลายประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนผู้ป่วย 248 ล้านราย ในจำนวนนี้มีผุ้เสียชีวิตกว่า 50.1 ล้านราย และในประเทศไทย สถานการณ์ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันค่อนข้างสูง ล่าสุดยอดรวมผู้ป่วยสะสมในประเทศมากถึง 1.94 ล้านราย และมียอดผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสะสมกว่า 19,394 ราย ซึ่งยังคงมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และติดเชื้อทุกวัน และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นโรคระบาดระดับโลก(pandemic) สำหรับพื้นที่อำเภอปากช่อง ในสถานการณ์ระบาดของโรคในปัจจุบัน ยังคงมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบผุ้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่อำเภอปากช่องมากกว่า 5,668 ราย (ข้อมูลจากหน่วยงานระบาด รพ.ปากช่องนานา วันที่4 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพบว่าพื้นที่อำเภอปากช่องมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมาเกือบ 2,000 ราย ในส่วนของอำเภอปากช่องซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมีประชากรเดินทางเข้า-ออก ค่อนข้างมากในทุกวัน ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่พบการระบาดในวงกว้างและเกิดการระบาดใหม่อีกครั้งหรือกลายเป้นโรคประจำถิ่นต่อไปดังนั้นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน หรือความพร้อมของบุคลากร และอุปกรณ์ที่เพียงพอพร้อมใช้งานยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการแพร่ระบาดของโรคที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทางคลินิกหมอครอบครัวประปา จึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการฯนี้ขึ้นมา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรค รวมถึงผู้ดูแลผู้ป่วยที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่อย่างรวดเร็ว
  1. เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่อย่างรวดเร็ว
  2. เพื่อคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง
  3. เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงสูงที่กักตัวอยู่ที่บ้าน
  4. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพและตรวจเบื้องต้นหากพบความเสี่ยงพร้อมส่งรักษาต่อ
  5. เพื่อจัดหาอุปกรณ์คัดกรอง ดูแลให้พร้อมใช้งาน
80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองและสอบสวนโรคและติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและสอบสวนโรคและติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนิการ 1. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอพิจารณา 2. ตรวจคัดกรอง สอบสวนโรคและติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และดูแล 3. จัดหาเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว สำหรับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้าน 4. สรุปผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุกโครงการ งบประมาณ 1. ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล จำนวน 20 เครื่องx250บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 2. เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำนวน 4 เตรื่อง เครื่องละ 850 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท 3. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด พร้อมจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ พร้อมขาตั้ง จำนวน 2 เครื่อง ราคาเครื่องละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท                                         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,400 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ร้อยละ 80 ของพื้นที่มีการควบคุมแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ภายใน 21-28 วัน ไม่เกิด Clusterใหม่ 2. ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลตามระบบการรักษาร้อยละ 100 3. มีวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการระบาดของโรคอย่างพอเพียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของพื้นที่มีการควบคุมแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ภายใน 21-28 วัน ไม่เกิด Clusterใหม่
2. ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลตามระบบการรักษาร้อยละ 100
3. มีวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการระบาดของโรคอย่างพอเพียง


>