กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) โรงเรียนบ้านท่าชะมวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงเรียนบ้านท่าชะมวงต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงด้านสาธารณสุข ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทยให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก“Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหู่เป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านท่าชะมวงมีจำนวนนักเรียน 126 คน จำนวนครูและบุคลากร จำนวน 14 คน รวม 140 คน ได้เปิดทำการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 4 มกราคม 2565 โดยจัดการเรียนการสอนภายใต้มาตรการ Sandbox : Safety Zone in School ทั้ง 4 ด้าน คือ มาตรการด้านกายภาพ มาตรการด้านการมีส่วนร่วม มาตรการด้านการประเมินความพร้อมสู่การปฏิบัติ และมาตรการด้านการดำเนินการของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
ทางโรงเรียนบ้านท่าชะมวงได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

140.00 112.00
2 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)

-นักเรียน ครู และบุคลากรที่เข้ามาในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100 -นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีการสวมหน้ากากอนามัยร้อยละ 100 -นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีการสวอป(Swab) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)เมื่อมีความเสี่ยง ร้อยละ 100

140.00 140.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 126
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาท×3ชม. 1,800.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันนักเรียน80บาท×126 คน 10,080.00 บาท
  • ค่าอาหารบุคลากรโรงเรียน 80 บาท×14 คน 1,120.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันวิทยากร80บาท80.00 บาท
  • ค่าอาหารว่างนักเรียน35บาท×126 คน× 2 มื้อ8,820.00 บาท

  • ค่าอาหารว่างบุคลากรโรงเรียน 35บาท× 14 คน×2 มื้อ 980.00 บาท

  • ค่าอาหารว่างวิทยากร 35 บาท × 2 มื้อ70.00 บาท รวมเป็นเงิน22,950 บาท 22,950บาท× 2 วัน รวมเป็นเงิน45,900 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลเมตรละ 150 บาท 1×2 เมตร 500.00บาท รวมเป็นเงิน46,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้หลังการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46400.00

กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการเรื่องการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการเรื่องการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบมีขาตั้ง
    จำนวน 1เครื่อง 2,000.00 บาท
  • แอลกอฮอล์เจล ขนาด 1,200 ml จำนวน 26 ขวด ขวดละ 280.-บาท                7,280.00 บาท
  • แอลกอฮอล์เปรย์ ขนาด 1,000 ml
    จำนวน 10 ขวด ขวดละ 396.-บาท3,960.00 บาท
  • สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 240 ml จำนวน 20 ขวดขวดละ 70 บ1,400.00  บาท
  • น้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ ขนาด1,200 ml จำนวน 5 ขวด ขวด 560.-บาท 2,800.00 บาท ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) รวมจำนวนนักเรียนคณะครูและบุคลากรโรงเรียน 140 คน คนละ 2 ชุดจำนวน 280ชุด
    ชุดละ 85 บาท 23,800.00 บาท
  • ชุด CPE จำนวน 20 ชุด ชุดละ 20 บาท          400.00 บาท รวมเป็นเงิน                                        41,640.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรที่เข้ามาในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรอง 100 เปอร์เซ็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41640.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่ารูปเล่มโครงการจำนวน 2เล่มเป็นเงิน600.00 บาท ติดตามผลทุกๆ 2 สัปดาห์ ผ่านกลุ่มไลน์ห้องเรียนโดยครูประจำชั้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคป้องกันโรคการคัดกรองอุณหภูมิการเว้นระยะห่างทางสังคมการทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานและส่งเสริมด้านสุขอนามัยโดยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ในโรงเรียนบ้านท่าชะมวง
2. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19) ให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านท่าชะมวง
3.นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรมีความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.นักเรียนและบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
5.นักเรียนและบุคลากรมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Swab) ด้วย Antigen Test Kit (ATK) 2 สัปดาห์ละครั้ง


>