กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย สินค้าปลอดภัยใส่ใจสุขภาพชาวชะมวง ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน

1. นางอุไร สงนุ้ย
2. นางปาริชาต อ่อนประเสริฐ
3. นางโสภัคดี ณ พัทลุง
4. นางสาวยุวดี เกื้อรุ่ง
5. นางจำเรียง แก้วมาก

หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

 

44.00

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ร้านชำยังคงจำหน่ายบุหรี่แก่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตามกฎหมาย พรบ.บุหรี่ 2560 มาตรา 26 ห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปียังพบว่าในพื้นที่มีการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว การโฆษณาชวนเชื่อ การับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อประชาชนในพื้นที่และจากการประเมินร้านชำในปี 2562 พบว่าร้านชำยังมีการขายยาอันตราย เครื่องสำอางที่มีสารเคมีที่ไม่ปลอดภัย อาหารบางชนิดไม่มีฉลากวันหมดอายุของอาหารทำให้ยังพบอาหารที่หมดอายุขายในร้านผู้ประกอบการยังมีจำหน่ายบุหรี่แก่บุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืนและในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน ยังมีร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารหลายร้านที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน“อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste)ดังนั้นเพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหาร ได้มีการปรับปรุงการบริการอาหารที่สะอาดปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลร้านชำ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 25 ร้าน
ข้อมูลร้านอาหาร ที่ขึ้นทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2 ร้าน
ข้อมูลแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่ขึ้นทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 17 ร้าน
ดังนั้นชมรมอสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน จึงจัดทำโครงการอาหารปลอดภัย สินค้าปลอดภัยใส่ใจสุขภาพชาวชะมวง ประจำปีงบประมาณ 2565เพื่อให้ร้านชำมีคุณภาพ ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐานขึ้น และพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนผู้บริโภคชาวตำบลชะมวง ปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ร้านชำผ่านเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

ร้านชำ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

25.00 80.00
2 เพื่อให้ร้านอาหารผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

ร้านอาหารได้รับการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น ร้อยละ 100 ของจำนวนร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารทั้งหมด

2.00 100.00
3 เพื่อให้แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste ร้อยละ 100

17.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 81
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม. เพื่อสำรวจข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม. เพื่อสำรวจข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม อสม. เพื่อ - สำรวจข้อมูลร้านชำให้เป็นปัจจุบัน - สำรวจร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ให้เป็นปัจจุบัน - ชี้แจงเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ค่าใช้จ่ายดังนี้
1. จัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.50 X 2.00 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน81 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4050 บาท
3. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 81 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 5670 บาท
4. ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนชั่วโมงละ 300 บาทจำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2565 ถึง 18 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทะเบียนร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอย เป็นปัจจุบัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12020.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ชี้แจงเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้ประกอบการผู้ปรุงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ชี้แจงเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้ประกอบการผู้ปรุงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำชี้แจงเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ
-อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการผู้ปรุงอาหารถึงเรื่องด้านสุขาภิบาลอาหารและโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ ชี้แจงเกณฑ์ร้านอาหารแผละแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐาน
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน14 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 700 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 14 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 980 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 300 บาทจำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท
4. ค่าเอกสารความรู้ เกณฑ์ร้านชำคุณภาพ เอกสารความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ เกณฑ์ร้านอาหารแผละแผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวน 14 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 280 บาท
5. จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เครื่องสำอางห้ามใช้ยาห้ามขายและการลดการโฟมในชุมชน ขนาด 1.50 X 2.00 เมตร พร้อมโครงไม้ ขนาด 1 X 1 นิ้ว พร้อมค่าติดตั้งป้ายละ 750 บาทจำนวน 9 หมู่บ้าน
หมู่บ้านละ 2 ป้าย เป็นเงิน 13500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2565 ถึง 27 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมเข้ารับการอบรม ร้อยละ 100 ผู้เข้าร้วมอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80 มีความรู้ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย และความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17260.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมทีมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมทีมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) จำนวน 18 คน ร่วมเป็นทีมงานในการดำเนินงานตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
2. ชุดทดสอบฟอร์มาลีน จำนวน 14 ชุด ๆละ 90 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท
3. ชุดทดสอบบอร์แรกซ์ จำนวน 1 ชุด ๆละ 200 บาท ( ชุดละ 50 ตัวอย่าง ) เป็นเงิน 200 บาท
4. ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิก(สารกันรา) 1 ชุด ๆละ 250 บาท ( ชุดละ 50 ตัวอย่าง ) เป็นเงิน 250 บาท
5. ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(สารฟอกขาว) 1 ชุด ๆละ 200 บาท ( ชุดละ 100 ตัวอย่าง ) เป็นเงิน 200 บาท
6. ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(SI2) (กล่องละ 50 ขวด) จำนวน 1 กล่อง ๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
7. ไม้พันสำลีแบบฆ่าเชื้อ ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 1 กล่องๆ ละ 100 ชิ้น เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2565 ถึง 10 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. อสม.ผู้เข้ารับการอบรม เข้ารับการอบรม ร้อยละ 100
2. ได้อุปกรณ์ในการตรวจสารปนเปื้อน
ผลลัพธ์
1. ร้านชำที่จำหน่ายอาหารสด ได้รับการตรวจสารปนเปื้อน ในอาหาร ร้อยละ 100
2. ร้านอาหาร ได้รับการตรวจสารปนเปื้อน ในอาหาร ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3910.00

กิจกรรมที่ 4 ออกตรวจประเมิน ร้านชำคุณภาพ ประเมินมาตรฐานร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจประเมิน ร้านชำคุณภาพ ประเมินมาตรฐานร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจประเมิน ร้านชำคุณภาพประเมินมาตรฐานร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยและเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคจากอาหารเป็นสื่อร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน
มอบป้ายอาหารปลอดภัยแก่ร้านอาหารแผงลอยและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ค่าใช้จ่าย
1. ป้ายแผ่นพลาสวู๊ดพร้อมโซ่แขวน ขนาด 40x40 ซม. แผ่นละ 200 จำนวน 20 ป้าย เป็นเงิน 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำ ร้านอาหาร ได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ร้อยละ 100
ร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้านชำผ่านเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานร้านอาหารตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน


>