กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID -19 หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก

ชื่อองค์กร...........ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก......
1. นางอำละ สุภาพ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
2. นางสรรเสริญจาโร สมาชิก
3. นางสาวฮามีด๊ะ หลงจิ สมาชิก
4. นางสาวนิภาพร สีอ่อน สมาชิก
5. นางนันตพร เศษวิชัย สมาชิก

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้

 

30.00
2 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

60.00

จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยเกิดการระบาดของโรค COVID -19ระลอก 3 ในเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการระบาดในระลอก 3 นี้มีการระบาดอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ พบว่าเชื้อไวรัส COVID -19เป็นสายพันธุ์อัลฟ่าในช่วงแรก ต่อมามีข้อมูลการระบาดจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2564 โดยพบว่าเริ่มมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ เดลตาในกรุงเทพฯ มีสัดส่วน 52% ครองพื้นที่ส่วนใหญ่แทนสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และในภูมิภาคสายพันธุ์เดลตาอยู่ที่ 18% ของสายพันธุ์ทั้งหมด หลังจากนั้นจึงมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 รายต่อวัน โดยข้อมูลในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 15,335 ราย ติดเชื้อสะสม 497,302 ราย ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 129 ราย และเสียชีวิตสะสม 4,059 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วคือพฤติกรรมเสี่ยงของตัวบุคคล สถานประกอบการที่ละเลยการปฏิบัติตามมาตรการ การแพร่กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ อย่างรวดเร็วโดยกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยสำคัญในการทำให้เกิดกรระบาดในวงกว้าง เนื่องจากมีการเดินทางเคลื่อนย้ายไปทั่วประเทศ จนปัจจุบันมีรายงานผู้ติดเชื้อในทุกจังหวัด และมีการระบาดเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ามาใหม่ไม่สมดุลกัน ทำให้การบริหารเตียงเพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ และสิ่งสำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ สปสช.จึงนำแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน หรือ Home Isolation เข้ามาใช้ในระบบสาธารณสุข เพื่อจัดบริการผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ล้นจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลสนาม โดยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน คือ กลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการสีเขียว โดยผู้ป่วยจะได้รับยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง มีระบบการดูแลติดตามอาการทุกวัน ส่งอาหารให้ผู้ป่วย 3 มื้อ และมีการดูแลระบบสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการขยะติดเชื้อในพื้นที่ ซึ่งการดูแลรักษาในรูปแบบดังกล่าว จำเป็นต้องให้ อสม.ในพื้นที่ช่วยบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วย เพราะจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation เพิ่มขึ้น แต่จำนวนทรัพยากรบุคคลที่รองรับการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่จัดส่งยา อาหาร และอุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง (ถุงห่วงใย) แม้จะปลดล็อกให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วขึ้นแต่ระบบส่งยากลับติดขัด ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ช้า
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก จึงจัดทำโครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID -19หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

30.00 32.00
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,005
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 1.  ชุด CPE GOWN (ชุดคลุมพลาสติกชนิดครึ่งตัว) จำนวน 5 ห่อ (1 ห่อ มี 10 ชุด) ห่อละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 2.  หมวกตัวหนอน จำนวน 3 ห่อ (ห่อละ 100 ชิ้น)  ห่อละ 230 บาท เป็นเงิน 690 บาท 3.  หน้ากากอนามัยสำหรับ อสม. 32 คน ๆ ละ 3 กล่อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 9,600  บาท 4.  เทปกั้นพื้นที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 30 ม้วน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 5.  แอลกอฮอล์ 75% แบบน้ำ ขนาด ๕ ลิตร จำนวน 8 แกลอนๆ 500 บาท เป็นเงิน  4,000 บาท 6.  ค่าป้ายพื้นที่ควบคุม ขนาด 50x30 เซนติเมตร จำนวน 30 แผ่น ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท 7.  ถุงมือทางการแพทย์ สำหรับ อสม. 32 คน ๆ ละ 2 กล่อง ๆ ละ 250 บาท  เป็นเงิน 16,000  บาท 8.  ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตรละ 140 บาท เป็นเงิน 420 บาท 9.  ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )                      เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36360.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการส่งยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง ระบบการดูแลติดตามอาการของผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการส่งยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง ระบบการดูแลติดตามอาการของผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการส่งยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง ระบบการดูแลติดตามอาการของผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation กิจกรรมที่ 3 จัดทีมลงพื้นที่โดยแบ่งเป็นชุมชนทั้งหมด 2 ชุมชน ประกอบด้วย
-ชุมชนเกาะนกรวมใจ -ชุมชนหลังโรงยางพัฒนา เพื่อส่งยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง (ถุงห่วงใย) การดูแลติดตามอาการของผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นเงิน 3,740 บาท 1.  ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม.และวิทยากร จำนวน 34 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 2,040  บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.และวิทยากร จำนวน 34 คนๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน 2 มื้อ
เป็นเงิน 1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3740.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุดทราบ 1.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. จำนวน 32 คนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,900.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริงกิจกรรมสถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
ประชาชนกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อ ร้อยละ 100
ผลลัพธ์
มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


>