กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID -19 หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ L5300-65-2-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 40,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำละ สุภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2005 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้
30.00
2 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยเกิดการระบาดของโรค COVID -19ระลอก 3 ในเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการระบาดในระลอก 3 นี้มีการระบาดอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ พบว่าเชื้อไวรัส COVID -19เป็นสายพันธุ์อัลฟ่าในช่วงแรก ต่อมามีข้อมูลการระบาดจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2564 โดยพบว่าเริ่มมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ เดลตาในกรุงเทพฯ มีสัดส่วน 52% ครองพื้นที่ส่วนใหญ่แทนสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และในภูมิภาคสายพันธุ์เดลตาอยู่ที่ 18% ของสายพันธุ์ทั้งหมด หลังจากนั้นจึงมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 รายต่อวัน โดยข้อมูลในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 15,335 ราย ติดเชื้อสะสม 497,302 ราย ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 129 ราย และเสียชีวิตสะสม 4,059 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วคือพฤติกรรมเสี่ยงของตัวบุคคล สถานประกอบการที่ละเลยการปฏิบัติตามมาตรการ การแพร่กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ อย่างรวดเร็วโดยกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยสำคัญในการทำให้เกิดกรระบาดในวงกว้าง เนื่องจากมีการเดินทางเคลื่อนย้ายไปทั่วประเทศ จนปัจจุบันมีรายงานผู้ติดเชื้อในทุกจังหวัด และมีการระบาดเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ามาใหม่ไม่สมดุลกัน ทำให้การบริหารเตียงเพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ และสิ่งสำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ สปสช.จึงนำแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน หรือ Home Isolation เข้ามาใช้ในระบบสาธารณสุข เพื่อจัดบริการผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ล้นจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลสนาม โดยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน คือ กลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการสีเขียว โดยผู้ป่วยจะได้รับยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง มีระบบการดูแลติดตามอาการทุกวัน ส่งอาหารให้ผู้ป่วย 3 มื้อ และมีการดูแลระบบสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการขยะติดเชื้อในพื้นที่ ซึ่งการดูแลรักษาในรูปแบบดังกล่าว จำเป็นต้องให้ อสม.ในพื้นที่ช่วยบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วย เพราะจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation เพิ่มขึ้น แต่จำนวนทรัพยากรบุคคลที่รองรับการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่จัดส่งยา อาหาร และอุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง (ถุงห่วงใย) แม้จะปลดล็อกให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วขึ้นแต่ระบบส่งยากลับติดขัด ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ช้า ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก จึงจัดทำโครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID -19หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID -19) ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

30.00 32.00
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

60.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,900.00 3 40,900.00
28 มี.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 0 36,360.00 36,360.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการส่งยา อุปกรณ์ในการดูแลตัวเอง ระบบการดูแลติดตามอาการของผู้ติดเชื้อที่บ้าน หรือ Home Isolation 0 3,740.00 3,740.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 800.00 800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ประชาชนกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อ ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2565 13:58 น.