กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการวิทยาลัยผู้สูงอายุเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกิจกรรมทางกายเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวิทยาลัยผู้สูงอายุเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะโดยกิจกรรมทางกายเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบ้านนา

1. นายประพันธ์ สังข์ติ้น ประธานศูนย์ฯ
2. นายสมบูรณ์ สงเหมือน
3. นางลัดดาวรรณ ศรีนาค
4. นางสางศุกร์อักษร ผอมดำ
5. นางสาวจิราภรณ์ พงษ์ชู

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน

51.79

ตำบลบ้านนามีผู้สูงอายุ จำนวน 1,228 คน เป็นผู้สูงอายุพิการทางการเคลื่อนไหวผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 227 คน ผู้สูงอายุที่มีความสมบูรณ์ของร่างกาย 1,001 คน สามารถที่ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัยผู้สูงอายุได้ จำนวน 90 คน ซึ่งใน 90 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 40 คน คิดเป็นร้อยละ 48.21 (ของผู้สูงอายุจำนวน 90 คน) และผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 51.79 (ของผู้สูงอายุจำนวน 90 คน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

51.79 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 29/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์ฯ (กลไกขับเคลื่อน)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์ฯ (กลไกขับเคลื่อน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อน ร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจรายละเอียดโครงการและแนวทางขับเคลื่อนสู่ผลลัพธ์ ร่วมกำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และสรรหากลุ่มเป้าหมายที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ จำนวน 50 คน โดยกระจายทุกหมู่บ้าน และออกแบบเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2565 ถึง 19 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้กลุ่มเป้าหมาย 50 คน

ผลลัพธ์
2. คณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุรู้ เข้าใจและให้ความร่วมมือ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1225.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย/เก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย/เก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจรายละเอียดโครงการ กำหนดกติกาและแนวทางสู่ผลลัพธ์ เก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย ดังนี้ นันทนาการ งานฝีมือ การนวด และการปลูกผักปลอดภัย ทั้งนี้ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ในครอบครัวและชุมชนได้

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นงิน 1250 บาท
2. แบบเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย จำนวน 50 ชุดๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2565 ถึง 22 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลกิจกรรมทางกายของกลุ่มเป้าหมาย
2. ได้ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น
3. ได้กลุ่ม และกติกาของกิจกรรมทางกาย

ผลลัพธ์ 1. กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจรายละเอียดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สงเสริมการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือ กำหนดกิจกรรมทุกวันพุธ เวลา 09.30 น. - 15.30 น. โดยมีกิจกรรมทางกาย ดังนี้ 1. การทำงานประดิษฐ์ งานฝีมือ งานบ้าน และอื่นๆ
2. กิจกรรมทางกายนันทนาการ เช่น ร้องเพลง เต้นรำ และอื่นๆ
3. กิจกรรมทางกายด้วยการปลูกผักอินทรีย์
4. กิจกรรมนวดเพื่อการบำบัดด้วยการจับคู่เปลี่ยนการนวด
ทั้งนี้ จะได้ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้นำความรู้ไปปฎิบัติจริงที่บ้านหรือชุมชน

งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆ ละ 12 ครั้งๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 12 ครั้งๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
3. ค่าวิทยากรเพิ่มทักษะชีวิต (งานประดิษฐ์งานฝีมือ/การนันทนาการ/การนวดเพื่อผ่อนคลาย/การปลูกผักปลอดภัย) 4 เรื่องๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (อุปกรณ์เพื่อการปลูกผักปลอดภัย) จำนวน 50 ชุดๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท (เพาะชำกล้าผักที่โรงเรียนและนำกลับไปปลูกที่บ้าน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน

ผลลัพธ์
1. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้กลับไปผลิตอาหารปลอดภัยและสร้างรายได้จากความรู้ที่ได้จากโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมทางกายที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมทางกายที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อน ร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมทางกายที่บ้านของกลุ่มเป้าหมาย (เก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย/ข้อมูลสุขภาพ/ข้อมูลจากการเรียนรู้จากโรงเรียน) โดยให้กลไกขับเคลื่อน แบ่งพื้นที่รับผิดชอบในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (คนละ 3-4 บ้าน)

งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนผู้ติดตามประเมินผล จำนวน 14 คนๆ ละ 1 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ข้อมูลกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์
1. ได้นำความรู้จากโรงเรียนไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางกายและการนำความรู้จากโรงเรียนไปใช้ของกลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดืม จำนวน 25 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2565 ถึง 17 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. จำนวนผู้ที่นำความรู้จากโรงเรียนไปใช้

ผลลัพธ์
1. จำนวนผู้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้น

ผลกระทบ
1. ได้รู้สถานะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 86,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จิง


>