กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการขยับกายในชุมชน ตำบลชะรัด ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด

1.นายสมนึก ทองรอด
2.นางพนารัตน์ คำทรา
3.นางไหม หมาดเกื้อ
4.นายยููสุบ ยาชะรัด
5.นางสมบัติเกื้อสุทธิ์ุ
6.นายพงศ์เทพเทียมดี (นศ.ฝึกงาน ม.หาดใหญ่)

หมู่ที่ 4,5,6,7,8,9 ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีทั้งหมด 1,019 คน
เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 561 คน

55.05
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี2,895 คน
ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 1,419 คน

49.01
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 584 คน
ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ จำนวน 242 คน

41.43

ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบมหาศาลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน การขับเคลื่อนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอจึงได้รับผลกระทบไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงและส่งผลให้พฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยพบหลักฐานทางวิชาการที่สามารถยืนยันได้ว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ส่งผลกระทบต่อระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของผู้คนไปทั่วโลก อาทิ ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า เด็กอายุระหว่าง 5-13 ปี มีกิจกรรมทางกายที่ลดลงและมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน ในประเทศกรีก พบว่า กิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนลดลง หลังจากที่มีประกาศมาตรการหลังล็อกดาวน์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทั้งเรื่องการทำงาน การเดินทาง และออกกำลังกาย และในประเทศญี่ปุ่น พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลงอย่างมากในเดือนเมษายน 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมกราคม 2020 จึงมีการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายและเดินเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในรอบ ๆ บริเวณบ้าน เพื่อป้องกันการเป็นอัมพาตและพิการในอนาคต
แนวโน้มและผลกระทบการมีกิจกรรมทางกายของคนในตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เมื่อย้อนกลับมาดูการมีกิจกรรมทางกายที่ผ่านมา ระดับการมีกิจกรรมทางกายของคนตำบลชะรัดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 คนตำบลชะรัดมีกิจกรรมทางกายลดลงถึงร้อยละ 50.15 ลดลงจากปี 25ุ62 ถึงร้อยละ 20.5 ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด เห็นความสำคัญ และช่วยผลักดัน หนุนเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนตำบลชะรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

55.05 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

49.01 55.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

41.43 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 14/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานสร้างความเข้าใจโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานสร้างความเข้าใจโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่คณะทำงาน จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ประธาน อสม.แต่ละหมู่บ้านและ จนท.รพสต.
2.กำหนดกติการ่วมกัน
3.วางแผนการดำเนินงาน และค้นหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
4 ออกแบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการขยับกายของกลุ่มเป้าหมาย และบันทึกการขยับกาย
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 180 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1X3 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าสมุดบันทึก จำนวน 70 เล่ม ๆ ละ 18 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มีนาคม 2565 ถึง 24 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคณะทำงาน
2.มีกติกา
3.มีแผนการดำเนินกิจกรรม
4.มีรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1940.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีเปิดงานส่งเสริมการขยับกายและสร้างกระแสในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เวทีเปิดงานส่งเสริมการขยับกายและสร้างกระแสในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.เชิญกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน และเชิญภาคีอื่นๆ 30 คน รวมทั้งหมด 100 คน
2.ลงทะเบียน กรอกข้อมูลพฤติกรรมการขยับกาย (มี PA เพียงพอ ทำอย่างไร/มี PA ไม่เพียงพอ ทำอย่างไร และไม่มี PA)
3.พิธีเปิด โดยนายกเทศมนตรีตำบลชะรัดและภาคีต่างๆ ในตำบล สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย
4.มีกิจกรรมการขยับกายบนเวทีด้วยแอโรบิค รำไม้พลอง และบาร์สโลบ
5.แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี 2)กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี3)กลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยคัดเลือกหัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงประชุมสร้างความเข้าใจ กำหนดกติการ่วมกัน วางแผนการทำกิจกรรมทางกายและแจกสมุดบันทึกการขยับกาย เพื่อบันทึกข้อมูลในการขยับกายแต่ละวันทั้งที่บ้านและจากการรวมกลุ่มขยับกาย
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าเช่าเครื่องเสียงพร้อมเวที เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 11 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
2.มีข้อมูลพฤติกรรมการขยับกาย
3.มีกติการ่วมกัน
4.มีแผนการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการขยับกายในชุมชนโดยการรวมกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการขยับกายในชุมชนโดยการรวมกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.แบ่งกลุ่มตามกลุ่มวัย เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเด็กและเยาวชน 2.กลุ่มวัยทำงาน 3.กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งหมด 70 คน ส่งเสริมรวมกลุ่มให้มีกิจกรรมการขยับกาย อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง รวม 20 ครั้ง
- กลุ่มเด็กและเยาวชน จะมีการขยับกาย เช่น เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน เพียงพอ รวมแล้วให้ได้อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน
- กลุ่มวัยทำงาน จะมีการขยับกายแบบแอโรบิค หรือปั่นจักรยาน รวมแล้วให้ได้อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์
- กลุ่มผู้สูงอายุ มีการขยับกายแบรำไม้พลองหรือบาร์สโลบ หรือปั่นจักรยาน รวมแล้วให้ได้อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์
2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังจากขยับกายเสร็จในแต่ละวัน
งบประมาณ
- ค่าวิทยากร นำเต้น วันละ 100 บาท จำนวน 20 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวิทยากร รำไม้พลองหรือบาร์สโลบ วันละ 100 บาท จำนวน 20 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเครื่องดื่มครั้งละ 70 คน ๆ ละ 10 บาทx 20 ครั้ง เป็นเงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีข้อมูลการขยับกายของแต่ละกลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 4 คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.คณะทำงานติดตามและประชุมเพื่อประเมินผล และคัดเลือกแกนนำการขยับกาย
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คนๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2565 ถึง 8 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ชุดข้อมูลการขยับกายของกลุ่มเป้าหมาย
2.ได้แกนนำการขยับกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
180.00

กิจกรรมที่ 5 คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.คณะทำงานติดตามและประชุมเพื่อประเมินผล และคัดเลือกแกนนำ
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คนๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2565 ถึง 6 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ชุดข้อมูลการขยับกายของแต่ละกลุ่ม
2.ได้แกนนำการขยับกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
180.00

กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียน 30 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน ตัวแทนกลุ่ม และตัวแทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าวิทยากรกระบวนการสรุปและวิเคราะห์/ถอดบทเรียนโครงการ จำนวน 1 คน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีข้อมูลการขยับกายเพียงพอเพิ่มขึ้น
2.มีชุดข้อมูลจากการถอดบทเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
2.ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
3.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น


>