กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการขยับกายในชุมชน ตำบลชะรัด ปี 2565
รหัสโครงการ L3308-65-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 14 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 26,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ทองรอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีทั้งหมด 1,019 คน
เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 561 คน

55.05
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี2,895 คน
ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 1,419 คน

49.01
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 584 คน
ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ จำนวน 242 คน

41.43

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบมหาศาลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกๆ ด้าน การขับเคลื่อนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอจึงได้รับผลกระทบไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงและส่งผลให้พฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยพบหลักฐานทางวิชาการที่สามารถยืนยันได้ว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ส่งผลกระทบต่อระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของผู้คนไปทั่วโลก อาทิ ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า เด็กอายุระหว่าง 5-13 ปี มีกิจกรรมทางกายที่ลดลงและมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน ในประเทศกรีก พบว่า กิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนลดลง หลังจากที่มีประกาศมาตรการหลังล็อกดาวน์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทั้งเรื่องการทำงาน การเดินทาง และออกกำลังกาย และในประเทศญี่ปุ่น พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลงอย่างมากในเดือนเมษายน 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมกราคม 2020 จึงมีการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายและเดินเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในรอบ ๆ บริเวณบ้าน เพื่อป้องกันการเป็นอัมพาตและพิการในอนาคต
แนวโน้มและผลกระทบการมีกิจกรรมทางกายของคนในตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เมื่อย้อนกลับมาดูการมีกิจกรรมทางกายที่ผ่านมา ระดับการมีกิจกรรมทางกายของคนตำบลชะรัดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 คนตำบลชะรัดมีกิจกรรมทางกายลดลงถึงร้อยละ 50.15 ลดลงจากปี 25ุ62 ถึงร้อยละ 20.5 ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด เห็นความสำคัญ และช่วยผลักดัน หนุนเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนตำบลชะรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

55.05 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

49.01 55.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

41.43 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,700.00 0 0.00
24 มี.ค. 65 ประชุมคณะทำงานสร้างความเข้าใจโครงการ 0 1,940.00 -
11 พ.ค. 65 เวทีเปิดงานส่งเสริมการขยับกายและสร้างกระแสในชุมชน 0 4,000.00 -
18 พ.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 ส่งเสริมการขยับกายในชุมชนโดยการรวมกลุ่ม 0 18,000.00 -
8 มิ.ย. 65 คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 1 0 180.00 -
6 ก.ค. 65 คณะทำงานติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 2 0 180.00 -
10 ส.ค. 65 เวทีถอดบทเรียน 0 2,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
2.ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น
3.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565 00:00 น.