กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกันภัยโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันภัยโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

ตลาดนัด และ มัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

รอมฎอน เป็นเดือนอันประเสริฐยิ่งสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือนด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น การถือศีลอด หมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่นการละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึงการละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่มการร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้สาระเว้นจากการประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย และเนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ในปัจจุบันตอนนี้ได้มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) ดังกล่าวยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง จึงยังมีผลในทางปฏิบัติต่อไป และในห้วงระหว่างวันที่ 2 หรือ 3 เมษายน 2565 นี้ จะตรงกับเดือนรอมฎอนที่มุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจการถือศีลอด และการทำกิจกรรมต่างๆในเดือนที่สำคัญยิ่งนี้ ซึ่งจะมีการรวมตัวกันเป็นหมู่คณะ ณ มัสยิด เคหสถาน ตลาดนัด หรือสถานที่ๆจัดเตรียมและในสถานการณ์ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องนี้ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สถานที่ดำเนินการจะมีด้วยกัน คือ มัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบจำนวน 11 แห่ง ตลาดนัดจำนวน 4 แห่ง ในส่วนของมัสยิด ชาวตำบลจวบ สามารถทำศาสนกิจตามมัสยิดแต่ละแห่งได้ตามปกติ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้ม โดยจะมีการคัดกรองโรคโควิด-19 ด้วยการวัดไข้ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย และมีการเว้นระยะห่างในการทำศาสนกิจในส่วนของตลาดนัด สาสมารถซื้อสินค้าอาหารตามตลาดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้มเช่นเดียวกัน โดยจะมีมาตรการ และเงื่อนไขในรายละเอียด แบ่งตลาดออกเป็น 4 แห่งด้วยกัน คือ 1. ตลาดนัดยานิง 2. ตลาดนัดเจาะไอร้อง 3. ตลาดนัดราเนีย 4. ตลาดนัดบ้านโคก เป็น 4 จุดด้วยกัน คือ 1. จุดพักคอยที่คนมาเข้าตลาดต้องใส่หน้ากากอนามัย 2.จะต้องมีจุดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ 3. จุดคัดกรองวัดอุณหภูมิ 4. เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรเข้ามา ควรเว้นระยะห่างจัดร้านทุกร้านห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร มีเส้นทางเข้า-ออกทางเดียว แบ่งโซนอาหาร และลูกค้าต้องเว้นระยะตาม social distancing จัดระบบการกลับ หรือการออก และกำหนดที่จอดรถให้ชัดเจน หากร้านไหนขายดี ต้องจัดระเบียบการต่อคิวซื้อ โดยต้องเว้นระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อซื้อเสร็จต้องรีบออกจากตลาดทันที เพื่อลดความแออัด เพราะปกติในช่วงเดือนรอมฎอนจะมีคนจำนวนมากที่มาทำศาสนกิจที่มัสยิด และแวะเวียนมาซื้ออาหารในตลาดช่วงเย็น จากสภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่ออัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันภัยโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องในเดือนรอมฎอน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.เพื่อให้ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในตลาด ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้ออาหารในตลาด และผู้สัมผัสอาหาร สามารถการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้
  1. อัตราการติดเชื้อลดลง
  2. ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้ออาหารในตลาด สามารถดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแม่ค้าตลาดนัดรอมฎอน 50
อีหม่าม/คอตีบ/บีลาล ประจำมัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/03/2022

กำหนดเสร็จ 29/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ตลาดนัดปลอดโรค/มัสยิดปลอดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตลาดนัดปลอดโรค/มัสยิดปลอดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เจลแอลกอฮอล์ขนาด 400 มิลลิลิตร จำนวน 230 ขวดๆละ 145 บาท เป็นเงิน 33,350.-บาท
- ตลาดนัดในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 4 แห่งๆละ 30 ขวด รวมเป็น 120 ขวด
(120ขวด X 145บาท = 17,400.-บาท)
- มัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 11 แห่งๆละ 10 ขวด รวมเป็น 110 ขวด
(110ขวด X 145บาท = 15,950.-บาท)
2. เครื่องกดเจลแอลกอฮอล์แบบเท้าเหยียบ จำนวน 15 แห่งๆละ 2เครื่องๆละ 1,450.-บาท เป็นเงิน 43,500.-บาท
3. ป้ายไวนิลขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 720.-บาท
4. ป้ายไวนิลพร้อมโครงเหล็กขนาด 80 X 100เซนติเมตร จำนวน 15 ป้ายๆละ 1,200.-บาท เป็นเงิน 18,000.-บาท
5. สีสเปรย์ขนาด 270 กรัม ขวดละ 70บาท จำนวน 20ขวด เป็นเงิน 1,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2565 ถึง 29 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
2.แม่ค้า/ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ DMHTT
3.อัตราการติดเชื้อลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
96970.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กลุ่มแม่ค้าตลาดรอมฎอนปลอดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มแม่ค้าตลาดรอมฎอนปลอดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 50คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 2,500.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท
  • ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 50คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 3,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2565 ถึง 28 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
2.แม่ค้า/ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ DMHTT
3.อัตราการติดเชื้อลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้โต๊ะอีหม่าม/คอเต็บ/บีลาล ประจำมัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โต๊ะอีหม่าม/คอเต็บ/บีลาล ประจำมัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 33คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 1,650.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 33คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 1,980.-บาท
  • ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 33คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 1,980.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2565 ถึง 29 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
2.แม่ค้า/ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ DMHTT
3.อัตราการติดเชื้อลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8610.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 117,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
2.แม่ค้า/ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ DMHTT
3.อัตราการติดเชื้อลดลง


>