กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันภัยโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L8422-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2565 - 2 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 29 เมษายน 2565
งบประมาณ 117,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว โนร์ไอดา เจ๊ะโก๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รอมฎอน เป็นเดือนอันประเสริฐยิ่งสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือนด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น การถือศีลอด หมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่นการละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึงการละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่มการร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้สาระเว้นจากการประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย และเนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ในปัจจุบันตอนนี้ได้มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) ดังกล่าวยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง จึงยังมีผลในทางปฏิบัติต่อไป และในห้วงระหว่างวันที่ 2 หรือ 3 เมษายน 2565 นี้ จะตรงกับเดือนรอมฎอนที่มุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจการถือศีลอด และการทำกิจกรรมต่างๆในเดือนที่สำคัญยิ่งนี้ ซึ่งจะมีการรวมตัวกันเป็นหมู่คณะ ณ มัสยิด เคหสถาน ตลาดนัด หรือสถานที่ๆจัดเตรียมและในสถานการณ์ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องนี้ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สถานที่ดำเนินการจะมีด้วยกัน คือ มัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบจำนวน 11 แห่ง ตลาดนัดจำนวน 4 แห่ง ในส่วนของมัสยิด ชาวตำบลจวบ สามารถทำศาสนกิจตามมัสยิดแต่ละแห่งได้ตามปกติ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้ม โดยจะมีการคัดกรองโรคโควิด-19 ด้วยการวัดไข้ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย และมีการเว้นระยะห่างในการทำศาสนกิจในส่วนของตลาดนัด สาสมารถซื้อสินค้าอาหารตามตลาดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้มเช่นเดียวกัน โดยจะมีมาตรการ และเงื่อนไขในรายละเอียด แบ่งตลาดออกเป็น 4 แห่งด้วยกัน คือ 1. ตลาดนัดยานิง 2. ตลาดนัดเจาะไอร้อง 3. ตลาดนัดราเนีย 4. ตลาดนัดบ้านโคก เป็น 4 จุดด้วยกัน คือ 1. จุดพักคอยที่คนมาเข้าตลาดต้องใส่หน้ากากอนามัย 2.จะต้องมีจุดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ 3. จุดคัดกรองวัดอุณหภูมิ 4. เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรเข้ามา ควรเว้นระยะห่างจัดร้านทุกร้านห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร มีเส้นทางเข้า-ออกทางเดียว แบ่งโซนอาหาร และลูกค้าต้องเว้นระยะตาม social distancing จัดระบบการกลับ หรือการออก และกำหนดที่จอดรถให้ชัดเจน หากร้านไหนขายดี ต้องจัดระเบียบการต่อคิวซื้อ โดยต้องเว้นระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อซื้อเสร็จต้องรีบออกจากตลาดทันที เพื่อลดความแออัด เพราะปกติในช่วงเดือนรอมฎอนจะมีคนจำนวนมากที่มาทำศาสนกิจที่มัสยิด และแวะเวียนมาซื้ออาหารในตลาดช่วงเย็น จากสภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่ออัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันภัยโรคโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ 2565ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องในเดือนรอมฎอน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.เพื่อให้ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในตลาด ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้ออาหารในตลาด และผู้สัมผัสอาหาร สามารถการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้
  1. อัตราการติดเชื้อลดลง
  2. ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้ออาหารในตลาด สามารถดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ได้
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 83 117,080.00 3 117,080.00 0.00
31 มี.ค. 65 - 2 เม.ย. 65 กิจกรรม ตลาดนัดปลอดโรค/มัสยิดปลอดโรค 0 96,970.00 96,970.00 0.00
1 เม.ย. 65 อบรมให้ความรู้โต๊ะอีหม่าม/คอเต็บ/บีลาล ประจำมัสยิดในพื้นที่ตำบลจวบ 33 8,610.00 11,500.00 -2,890.00
2 เม.ย. 65 อบรมให้ความรู้กลุ่มแม่ค้าตลาดรอมฎอนปลอดเชื้อโควิด-19 50 11,500.00 8,610.00 2,890.00
รวมทั้งสิ้น 83 117,080.00 3 117,080.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
2.แม่ค้า/ผู้นำศาสนา มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ DMHTT
3.อัตราการติดเชื้อลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2565 00:00 น.