กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม

หมู่ 3 และ หมู่ 8 ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

13.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.00

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกายการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม มีบริการคลีนิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีศักยาภาพในการดูแลตนเองไม่เต็มที่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ควบคุมโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นควรมีการส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้า ผลจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาจากกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวาน 426 ราย พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 150 ราย กลุ่มสงสัยป่วย 23 ราย และกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 376 ราย พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 75 ราย และกลุ่มสงสัยป่วย 66 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม และส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่กลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งยังไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้การจัดการชุมชนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้านต่าง ๆ ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการลดโอกาสเสียง เช่น การกำหนดมาตรการทางสังคมของชุมชน และการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องรวมถึงมีความรู้ ความเข้าใจจนเกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเอง และครอบครัวให้สามารถควบคู่พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับที่พอเหมาะสมลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค Metabolicได้ถูกต้อง เหมาะสม โดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน

1.บันทึกข้อมูลการดำเนินโครงการในโปรแกรม JHCISและรายงานเป็นเอกสารเมื่อสิ้นสุด โครงการพร้อมภาพกิจกรรม

70.00
2 2.ค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคได้ทันท้วงที

2.ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะอ้วนลงพุง สามารถควบคุม/ลดน้ำหนักหรือรอบเอวได้

50.00
3 3.เพื่อจัดบริการเชิงรุกในการคัดกรองภาวะสุขภาพ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง

3.ร้อยละ 60 ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้

60.00
4 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท

4.ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท

60.00
5 5.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่เกิน 125 mg/dl

5.ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่เกิน 125 mg/dl

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 430
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคได้ทันท้วงที

2.เพื่อจัดบริการเชิงรุกในการคัดกรองภาวะสุขภาพ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง

งบประมาณ

  • เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ 3,500บาท จำนวน 2เครื่องเป็นเงิน 7,000 บาท

  • แถบตรวจเบาหวาน450 แถบ กล่องละ 50 แถบ จำนวน 9 กล่องๆละ 850 บาท เป็นเงิน 7,650 บาท

  • เข็มเจาะ 600 เล่ม กล่องละ 200 เล่ม จำนวน 3 กล่องๆละ 750 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 เมษายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะอ้วนลงพุง สามารถควบคุม/ลดน้ำหนักหรือรอบเอวได้ 2.ผู้ป่วยเรื้อรัง สามารถควบคุมโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มเสี่ยง
งบประมาณ ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ
1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 เมษายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.กลุ่มผู้เสี่ยงได้รับความรุ้เพื่อไปปฏิบัติให้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2.ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
3.ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้
4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง
5.อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง


>