กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(covid-19) ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านท่าข้าม

1.นางประคองเกลี้ยงแก้ว
2.นางวิมลพูลเพิ่ม
3.นางนุชนาฏ สังข์ปลอด
4.นางกชกรนวนแก้ว
5.นางนฤมลหนูนวล

ม.8 บ้านท่าข้าม ตำบลตะพแน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศรีบรรพตพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านท่าข้าม พบว่า มีแนวโน้มการระบาดในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นจำนวน 523 คน เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมทั้งสิ้นจำนวน 28 ราย ถึงแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก การกักตัวที่บ้าน เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ก็ยังพบผู้ป่วย ติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยงถือว่าเป็นมาตรการหนึ่งในการปองกันไม่ให้เกิดการระบาดมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อป้องกันการระบาดในวงกว้างของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ หมู่ที่ 8บ้านท่าข้าม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านท่าข้าม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคด้วยวิธีการตรวจ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงอย่างเชิงรุกด้วยวัสดุทางการแพทย์ สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ Antigen Test Kit (ATK) เนื่องจากวัสดุทางการแพทย์ดังกล่าว สามารถตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และทราบผลการตรวจเชื้อฯ ภายในเวลา 15 - 30 นาที เหมาะสำหรับการตรวจหาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน

90.00
2 2.เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดกรองเบื้องต้น ATK ด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดกรองเบื้องต้น ATK ด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณกิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดกรองเบื้องต้น ATK ด้วยตนเอง 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน3,000 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน1,800 บาท 4.ค่าวัสดุอื่นๆในการประกอบการอบรมเป็นเงิน 1,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาดในชุมชน
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
3.กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19


>