กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

1.นางสาวมาเรียม สะนิ
2.นางยารียะห์ แมะ
3.นางสาวสารีฟ๊ะ สามะ
4.นางสาวเจะรุสนะห์ เจะหลง
5.นางสาวซามีหะห์ ตาเฮร์

เขตเทศบาลตำบลบางปู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้มสูงขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ COVID – 19 ในประเทศไทย ณ วันที่ 23 มีนาคม 2565 ประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งสิ้น 1,200,521 ราย ติดเชื้อเพิ่ม จำนวน +25,164รายเสียชีวิตเพิ่มจำนวน80ราย(รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศูนย์ข้อมูล COVID - 19 กรมประชาสัมพันธ์)ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก การกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน การจัดตั้งศูนย์พักคอย เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล หรือจัดตั้งโรงพยาบาลสนามโดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในจังหวัดปัตตานีได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเป็นวงกว้าง และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจขยายวงการแพร่ระบาดจนเกิดขีดความสามารถของโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนาม เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
ดังนั้น รพ.สต.บางปูร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปูจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ปีงบประมาณ2565 ขึ้นเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และเตรียมการในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลบางปู ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙

ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาซนที่ได้รับความเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

0.00
3 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-๑๙

สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - ๑๙ ร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

ประชาชนในชุมชน มีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองในชุมชน     - จัดทำแผนการคัดกรองประชาชน
        - ดำเนินการคัดกรองด้วยการเน้นเฝ้าระวังการสวมหน้ากากอนามัย การวัดไข้ การสอบถามการเดินทาง งบประมาณ 0.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙     ๒. ผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม     3. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - ๑๙     ๔. เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่กักตัว

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่กักตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่กักตัว
    • ประสานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว ใน Home Isolation
    • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือฯ
    • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ 0.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙     ๒. ผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม     3. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - ๑๙     ๔. เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เตรียมความพร้อมรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
    • ดำเนินการรณรงค์ในพื้นที่ทั้ง 8 ชุมชน
    • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้
      3.1 ค่าเสื้อฝน  จำนวน  100 ชุด × 25 บาท          เป็นเงิน  2,500 บาท 3.2 ค่าชุด CPE จำนวน 100 ชุด × 55 บาท          เป็นเงิน  5,500 บาท
      3.3 ค่าถุงมือยาง  Size S จำนวน  30 กล่อง × 250 บาท        เป็นเงิน  7,500 บาท 3.4 ค่าถุงมือยาง  Size M จำนวน 30 กล่อง × 250 บาท      เป็นเงิน  7,500 บาท 3.5 ค่าถุงมือยาง  Size L  จำนวน 10 กล่อง × 250 บาท        เป็นเงิน  2,500 บาท 3.6 ค่าปรอทวัดอุณหภูมิ แบบสแกนมือ  จำนวน 1 เครื่อง × 2,000 บาท
                                      เป็นเงิน 2,000 บาท     3.7 ค่าถุงคลุมเท้า  จำนวน  200 ชิ้น × 40 บาท            เป็นเงิน 8,000 บาท 3.8 ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด 500 ml จำนวน 95 ขวด × 250 บาท
                                          เป็นเงิน 23,750 บาท
      3.9 ค่าแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 75% ขนาด 1000 ml  จำนวน 70 แกลอน × 330 บาท
                                          เป็นเงิน 23,100 บาท 3.10 ค่าชุด PPE จำนวน 40 ชุด × 250 บาท          เป็นเงิน 10,000 บาท 3.11 ค่าหน้ากากใสคลุมหน้า(เฟสชิลด์) จำนวน 70 ชิ้น × 30 บาท  เป็นเงิน   2,100 บาท       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 94,450.00  บาท (เงินเก้าหมื่นสี่พันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙     ๒. ผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม     3. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - ๑๙     ๔. เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
94450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 94,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-๑๙
๒. ผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงมีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
3. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID - ๑๙
๔. เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต


>