กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลสะกอม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม

ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ ได้รับการพ่นหมอกควัน

 

60.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

2.00

จากสถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าตำบลสะกอม มีโอกาสพบผู้ป่วยอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จากสถิติข้อมูลการระบาด พบว่า ปี 2564 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 25.92 ซึ่ง รพ.สต. สะกอม ได้ดำเนินการงานควบคุมโรคติดต่อโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง โดยมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย วัด 1 แห่ง โรงเรียน 9 แห่ง ศพด. 4 แห่ง และฉีดพ่นหมอกควันกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ แต่จากการดำเนินงานควบคุมโรคนั้น รพ.สต.สะกอม ยังขาดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน คือ เครื่องพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลาย และกำจัดเชื้อโรคติดต่อต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องมาจาก รพ.สต.สะกอม นั้นเป็น รพ.สต.ขนาดใหญ่ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งตำบล จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องพ่นหมอกควันไว้ประจำสำนักงาน เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลสะกอม

การระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลสะกอมลดลง

70.00 90.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กิจกรรมที่ 1 กลุ่มเด็กวัยเรียน 90
กิจกรรมที่ 3 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง 500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในชุมชน จำนวน 9 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในชุมชน จำนวน 9 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน90ชุดๆละ25เป็นเงิน 2,250บาท
  2. ค่าสื่อความรู้แบบ Foam Board ขนาด 52 ซม.x 76 ซม. จำนวน 8 ชิ้น ชิ้นละ 350 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คนเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5050.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ / อุปกรณ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ / อุปกรณ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องพ่นหมอกควันจำนวน2 เครื่องๆละ 59,000 บาท เป็นเงิน 118,000 บาท
  • ค่าน้ำยาพ่น จำนวน 2 ขวดๆละ1,650บาทเป็นเงิน 3,300 บาท
  • ค่าทรายอะเบท จำนวน 1 ถังๆละ4,900บาทเป็นเงิน 4,900 บาท
  • โลชั่นทากันยุง ซองละ 8 บาท x 100 ซอง เป็นเงิน 800บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (ดีเซล)จำนวน70ลิตรละ40บาทเป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิล)จำนวน30ลิตรละ50บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าชุดปฏิบัติการป้องกันสารเคมี จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2565 ถึง 13 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์ในการกำจัดและป้องกันยุงลายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90จำนวนโรงเรียน 9 โรงเรียน และ 4 ศพด. และบ้านผู้ป่วย(กรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก)ได้รับการพ่นหมอกควัน/ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้เลือดออกอย่างฉับพลัน และตัดวงจรการเกิดโรคไข้เลือดออกไม่ให้แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
134300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในโรงเรียน 9 แห่ง ศพด. 4 แห่ง (พ่นก่อนโรงเรียนเปิด)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในโรงเรียน 9 แห่ง ศพด. 4 แห่ง (พ่นก่อนโรงเรียนเปิด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จ้างเหมาคนพ่นสารเคมีฯ จำนวน 2 คน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 เมษายน 2565 ถึง 20 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงาน สถานที่ชุมชนได้รับการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายไม่ต่ำกว่าร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 สอบสวนโรค พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 2 ครั้งๆละ 200 บาท พ่นห่างกัน 7 วัน)

ชื่อกิจกรรม
สอบสวนโรค พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ในกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 2 ครั้งๆละ 200 บาท พ่นห่างกัน 7 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จ้างเหมาคนพ่นสารเคมี กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 10 ราย โดยใช้ประมาณการปี 2564 พ่นรายละ 2 ครั้ง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายถูกทำลายไม่ต่ำกว่าร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 145,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และคนในชุมชนได้
2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
3.ค่า HI CI ในบ้านน้อยกว่าหรือเท่า 10 และค่า CI ในสถานบริการ เช่น วัด โรงเรียน และรพ.สต. เท่ากับ 0


>