กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพคนพิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์บริการคนพิการตำบลคลองขุด

ชื่อองค์กร......ศูนย์บริการคนพิการตำบลคลองขุด......
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นายสุนทรพรหมเมศร์ ประธานศูนย์บริการคนพิการตำบลคลองขุด
2. นายนิพนธ์ ยอดรัก รองประธานฯ คนที่ 1
3. นางสาวอำภรณ์หวันยาวา รองประธานฯ คนที่ 2
4. นางสาวจันทร์เพ็ญมะลิ เหรัญญิก
5. นางสาวรอวีย๊ะ ยังปากน้ำ กรรมการ

พื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

 

80.28
2 ร้อยละของผู้พิการได้รับวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

 

52.00

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มีความก้าวหน้าทำให้ผู้ป่วยทั่วไปและเรื้อรังรอดชีวิตจากภาวะวิกฤตมากขึ้น โรงพยาบาลต้องเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเตียง เพื่อลดจำนวนวันของการอยู่รักษาในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังต้องถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่อาการยังไม่คงที่ บางรายมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวมาที่บ้านเป็นเหตุให้ต้องมีการส่งต่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทำการดูแลอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยและครอบครัวหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ แต่มีผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ กลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนของการควบคุมอาการของโรคให้สงบได้ ซึ่งต้องการการดูแลเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรคได้ จึงต้องมีการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการการมีส่วนร่วมจากครอบครัวในการดูแล แต่การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว และจากปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ท้อแท้ และหมดกำลังใจ
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ศูนย์บริการคนพิการตำบลคลองขุด ได้จัดทำโครงการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ โดยมีกิจกรรมให้แกนนำลงสำรวจคนพิการในพื้นที่ตำบลคลองขุด เพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย สภาพทางเศรษฐกิจ (แกนนำ 1 คน ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน 12 คน) ในปี 2564 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการในตำบลคลองขุด จำนวน 502 คน ซึ่งพบว่ามีคนพิการ จำนวน 49 คน ที่มีปัญหาเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความจำเป็นและความต้องการการช่วยเหลือให้มีการสนับสนุนวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น อาหารทางการแพทย์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นรองซับ นมสำหรับเด็กพิการ เป็นต้น และในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการในตำบลคลองขุด จำนวน 525 คน ศูนย์บริการคนพิการตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมผู้พิการที่เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่บ้าน โดยมีกิจกรรมเยี่ยมดูแลผู้พิการที่บ้านโดยแกนนำผู้ดูแลผู้พิการ/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ผ่านการอบรมแล้วและมอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยการแนะนำการดูแลผู้พิการ และพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อเป็นการดึงศักยภาพของสมาชิก ในครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลร่วมกับทีมสุขภาพ ซึ่งอาจทำให้ผู้พิการสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านได้ ร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแล และใช้ระยะเวลาในการดูแลผู้พิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดการใช้เวลา ยานพาหนะผู้นำส่งในการมารับบริการจากหน่วยงานสาธารณสุขอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ

ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

80.28 97.96

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 525
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงแกนนำคนพิการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและที่อยู่อาศัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมชี้แจงแกนนำคนพิการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและที่อยู่อาศัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงแกนนำ (อาสาสมัครดูแลคนพิการ/กรรมการคนพิการ)
กิจกรรมที่ 2 แกนนำลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการเพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย สภาพทางเศรษฐกิจ
งบประมาณ กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงแกนนำคนพิการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนพิการเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย เป็นเงิน 17,210 บาท ดังนี้
1.1 ค่าวิทยากรจำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และคณะทำงาน จำนวน 45 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 วันๆ ละ 1 มื้อเป็นเงิน 1,125 บาท
1.3 ค่าพาหนะเหมาจ่ายสำหรับแกนนำในการเยี่ยมบ้านคนพิการจำนวน 42 คนๆ ละ 70 บาทจำนวน 4 วัน (เยี่ยมคนพิการ 3 คนต่อวัน) เป็นเงิน 11,760 บาท 1.4 ค่าเอกสารสิ่งพิมพ์ ในการจัดทำแบบสำรวจฯ จำนวน 525 ชุด ๆละ 5 บาทเป็นเงิน 2,625 บาท
1.5 ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร, ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าปริ้นรูป) เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้พิการได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จำนวน 525 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17210.00

กิจกรรมที่ 2 มอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการเป็นการเฉพาะราย

ชื่อกิจกรรม
มอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการเป็นการเฉพาะราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้พิการเป็นการเฉพาะราย งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 มอบวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ช่วยเหลือผู้พิการที่ติดบ้านติดเตียง
1. ค่าวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป อาหารทางการแพทย์ อุปกรณ์ทำแผล เป็นเงิน 59,200 บาท ดังนี้                - ผ้าอ้อมสำเร็จรูป จำนวน 80 แพ็คๆ ละ 600 บาท    เป็นเงิน 48,000 บาท                - อาหารทางการแพทย์  จำนวน 2 ถุงๆ ละ 800 บาท  เป็นเงิน 1,600 บาท                - แผ่นรองซับ  จำนวน 60 ห่อ ๆ ละ 120 บาท          เป็นเงิน 7,200 บาท               - นมแบบกล่อง จำนวน 4 ลัง ๆ ละ 600 บาท            เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้พิการติดบ้านติดเตียงได้รับการสนับสนุนวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 49 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
59200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,410.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1. ผู้พิการได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จำนวน 525 คน
2. ผู้พิการติดบ้านติดเตียงได้รับการสนับสนุนวัสดุและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 49 คน
ผลลัพธ์
ผู้พิการได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง และได้รับการเยี่ยมดูแลที่บ้านจากแกนนำด้านสุขภาพและแกนนำด้านสุขภาพสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนพิการ ให้กำลังใจ แนะนำ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้คนพิการมีสุขภาพที่ดี ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>