กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งลาน

1.นางบุญศรี สุขรัตน์
2.นางสุนิสา หอยมณี
3.นางอุ่นใจ ก้งเส้งวั่น
4.นางนันทิภา หนูอักษร
5.นางนพวรรณ เอียดรอด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ของประเทศไทย พบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง และอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งต้องติดตามดูแลสุขภาพในกลุ่มดังนี้ได้แก่ 1.แม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม/ไม่พึ่งประสงค์ ภาวะซีด ฝากครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์) 2.กลุ่มวัยเรียน (งานภูมิคุ้มโรค พัฒนาการเด็ก,โภชนาการ) 3.กลุ่มวัยรุ่น (ภาวะโภชนาการเกิน/ต่ำกว่าเกณฑ์) 4.กลุ่มวัยทำงาน (ดูแลพฤติการณ์สุขภาพโดยการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน) 5.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ (การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ) ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพที่ใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย การที่ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายที่เข็มแบ็งทำให้สามารถดำรงชีวิตและมีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยและลดการเจ็บป่วยด้วยโรคได้
ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ได้รับการดูแลสุขภาพให้มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อลดการเจ็บป่วยรายใหม่ในกลุ่มโรคที่สำคัญ 2.ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารใรการเฝ้าระวังและสามารถ3.อสม.ได้รับการพัฒนาเสริมองค์ความรู้และเรียนรู้การทำงานอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อลดการเจ็บป่วยรายใหม่ในกลุ่มโรคที่สำคัญ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ในเรื่องโรคไม่ติดต่อที่สำคัญและโรคติดต่อ 2.ฝึกปฎิบัติทบทวนการปฏิบัติงานที่ รต.สต.บ้านทุ่งลาน 3.อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพ 3.1 เจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้างในร่างกายกลุ่มเป้าหมาย 8 หมู่บ้าน จำนวน 400 คน และตรวจซ้ำในรายที่มีผลมีตรวจพบว่า มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.และทบทวนการปฏิบัติงาน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงาน จำนวน 87 คนๆละ 2 มื้อๆละ25 บาท จำนวน 2 วันเป็นเงิน 8,700 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานจำนวน 86 คนๆละ 1 มื้อๆละ50 บาท จำนวน 2 วันเป็นเงิน 8,700 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 5 ซม.ๆละ 600บาท จำนวน 2วัน เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าวัสดุในการอบรม 10,320 บาท (ถุงผ้า,ปากกา,สมุดปกอ่อน) รวม 33,720 บาท เจา่ะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้างในร่างกาย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 400 คนๆละ1 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 10,000 บาท -ค่ากระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 4 กล่อง กล่องละ 100 แผ่น ราคากล่องละ 1,000บาท เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าหลอดฮีมาโตคริตจำนวน 4 กล่อง ราคากล่องละ 100 ชิ้น ราคากล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท -ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 4 กล่องๆละ 100 อัน ราคากล่องละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวม 17.000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,720 บาททุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชน มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติการณ์สุขภาพที่เหมาะสม 2.ชุมชนเกิดภาคีเครือข่ายในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เข็มแข็งในการดูแลสุขภาพ 3.บุคลากร ได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และเรียนรู้การทำงานไปพร้อมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>