กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งหลวง ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจานวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจานวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเด็งกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –12 กรกฎาคม2564ได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก 4878ราย อัตราป่วย 7.34ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 รายอัตราป่วย -ตายร้อยละ 0.08จังหวัดตรังลำดับที่ 59 ของประเทศ
สถานการณ์จังหวัดตรังสำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ ปี 2551-2564 ของจังหวัดตรังมีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรค เป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 15ราย อัตราป่วย 2.33 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายอัตราป่วย –ตาย ร้อยละ 6.67 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอประจำปี 2564 พบว่าพื้นที่ที่มีผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอห้วยยอด ( อัตราป่วย 3.17 ) อำเภอปะเหลียน ( 2.97 ) และอำเภอสิเกา ( 2.60 ) ซึ่งเป็นรอยต่อของอำเภอวังวิเศษ
สถานการณ์อำเภอวังวิเศษข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –12 กรกฎาคม2564 อัตราป่วย 2.30 ต่อแสนประชากร ตำบลที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ ตำบลวังมะปราง จำนวน 1 ราย
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดเป็นความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม โยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และกระตุ้นชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา และโรคไข้ชิก้า ในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายเป็นการตัดวงจรพาหนะนำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1..เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์ 2.. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน และวัด ที่เป็นแหล่งโรค

1..อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี  2561 ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 20 2.ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน Generation  ที่ 2 ในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

0.00
2 3.. เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้อง โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง
  1. ค่า HI  <10  ค่า BI < 50  ค่า  CI  < 10  ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
0.00
3 4.. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหหลวง แฃะสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT

การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน มีกิจกรรมการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT 2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมที่สุด 3. ดำเนิน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT 2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมที่สุด 3. ดำเนิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างเหมาสำหรับเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน จำนวน 1 คน จำนวน  3 เดือน ๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000  บาท 2.ค่าโลชั่นทากันยุง  จำนวน  1,000  ซอง ๆละ 5 บาท เป็นเงิน  5,000  บาท 3. ค่าจัดซื้อเสปรย์ ฉีดพ่น ขนาด  300  มิลลิลิตร จำนวน  50 กระป๋อง ๆละ 65  บาท เป็นเงิน 3,250  บาท 4.ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ขนาดบรรจุ 500 ซอง / ถัง จำนวน  2 ถังๆละ 3,500  บาท  เป็นเงิน 7,000  บาท 5.ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ จำนวน  3 ครั้ง ๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 6.ค่าน้ำมันเบนซิน  สำหรับเครื่องพ่นหมอกควัน
เป็นเงิน 1,500  บาท 7.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง  ( น้ำมันดีเซล ) เป็นเงิน 2,500 บาท


รวมเป็นเงิน   26,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2565 ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 20
2. ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generation ที่ 2 ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
3. ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) ค่าBreteau Index น้อยกว่าหรือเท่า 50 (BI < 50) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของชุมชน และค่า Container Index น้อยกว่า หรือเท่า 10 (CI ≤ 10) ในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงเรียน วัด ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯควรมีค่า CI = 0 ร้อยละ 100
4. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
5. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
6. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์


>