กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รณรงค์การรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา โควิด-19 ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
นางกามารีเยาะ เปาะเซ็ง
นางอานีซะ บูงอแคะบอง
นางฮามีดะ ลือแบลูวง
นางอามีเน๊าะ ทากือแน

ม.4ม.5ม.7 ม.8ต.ยะหา อ.ยะหาจ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในพื้นที่ได้รับวัคซีนโควิด19 ยังไม่ครบตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 70

 

50.00
2 อสม.ได้รับวัคซีนโควิด19ไม่ครบทุกคน

 

35.00

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนักของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สถานการณ์ระบาดกำลังแพร่ระบาดกระจายยังไม่สามารถควบคุมได้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรคกักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้น เป็นต้น
แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีน มากกว่าร้อยละ 70 เพื่อให้รับวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ อย่างน้อย 3 เข็มทั้งนี้ สถานการณ์ได้ได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เข็มที่ 1 ร้อยละ 72.54เข็มที่ 2ร้อยละ 57.73 เข็มที่ 3 ร้อยละ 4.44 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีการฉีดเข็มที่ 3 น้อยมาก การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีควัคซีนและเฝ้าระวังป้องกัน COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการฉีดวัคซีนและการดูแลเฝ้าระวังป้องกันจาก COVID 2019 จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจการรับวัคซีนตามเกณฑ์ป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด
  1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด
50.00 100.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ป้องกันโรคโควิด -19

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มได้หมายได้รับวัคซีนป้องกันโควิด -19 ครบชุด

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป หมู่ที่ 4.5,7,8 400
อาสาสมัครสาธารณสุข 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงโครงการฯคณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 65 คน โดยมีการประชุมกำหนดเนื้อหา การค้นหาผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน และมาตรการการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด -19
  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 65  คน x 25 บาท x 2 มื้อ                เป็นเงิน 3,250  บาท - ค่าอาหารกลางวัน 65 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                           เป็นเงิน 3,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.เข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการครบทุกคนและค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับวัคซีนส่งรายชื่อให้เจ้าหน้าที่เพื่อติดตามให้วัคซีนที่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 . จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนและติดตามฉีดวัคซีน ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 . จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนและติดตามฉีดวัคซีน ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป้าหมายผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 400 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 400คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 10,000บาท - ค่าวัสดุประกอบการจัดอบรม 400 ชุด x 107.50 บาท เป็นเงิน 43,000 บาท (วัสดุฯ เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย) -ป้ายโครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 400 คนได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนมากกว่าร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไวรัสโคโรนา โควิด-19
2. ร้อยละ 70 ของประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด


>