กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์การรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา โควิด-19 ปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตอยยีบะห์ ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในพื้นที่ได้รับวัคซีนโควิด19 ยังไม่ครบตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 70
50.00
2 อสม.ได้รับวัคซีนโควิด19ไม่ครบทุกคน
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนักของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สถานการณ์ระบาดกำลังแพร่ระบาดกระจายยังไม่สามารถควบคุมได้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรคกักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้น เป็นต้น
แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีน มากกว่าร้อยละ 70 เพื่อให้รับวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ อย่างน้อย 3 เข็มทั้งนี้ สถานการณ์ได้ได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เข็มที่ 1 ร้อยละ 72.54เข็มที่ 2ร้อยละ 57.73 เข็มที่ 3 ร้อยละ 4.44 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีการฉีดเข็มที่ 3 น้อยมาก การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีควัคซีนและเฝ้าระวังป้องกัน COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักในการฉีดวัคซีนและการดูแลเฝ้าระวังป้องกันจาก COVID 2019 จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจการรับวัคซีนตามเกณฑ์ป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด
  1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด
50.00 100.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ป้องกันโรคโควิด -19

ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มได้หมายได้รับวัคซีนป้องกันโควิด -19 ครบชุด

50.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,300.00 0 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ 0 6,500.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 . จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชุมชนและติดตามฉีดวัคซีน ในชุมชน 0 53,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไวรัสโคโรนา โควิด-19
  2. ร้อยละ 70 ของประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ครบชุด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 00:00 น.