กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวียืนยาว (โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสร้างถ่อ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตำบลสร้างถ่อ

1.นางปิ่นแก้วหวังสุข
2.นายศักดิ์ดาหวังสุข
3.นายหนูรักษ์สารการ
4.นางนิทราสารการ
5. นางมาลีครองยุทธ

ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมในปัจจุบันตำบลสร้างถ่อมีผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันทั้งด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิตประกอบกับวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุและหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ จำนวน ๑๗ หมู่บ้าน มีพื้นที่ ๗๕ ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร9,487 คน แยกเป็นเพศชาย 4,721 คน (ร้อยละ 49.77) เพศหญิง 4,766 คน (ร้อยละ 50.23) จำนวน 2,668 ครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูล TCNAP PLUS พบว่าตำบลสร้างถ่อมีประชากรที่เตรียมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (๕๐-๕๙ ปี) จำนวน ๑,๔๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๙๓ ของจำนวนประชากรมีผู้สูงอายุจำนวน 1,832 คน แยกเป็น ชาย 854 คน หญิง 978 คน คิดเป็นร้อยละ 19.20ของจำนวนประชากร ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ จำนวน ๗๕๔ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.02 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับลูกหลาน จำนวน ๗๒๓ ครัวเรือน ร้อยละ ๙๕.๘๙ รองลงมาคือผู้สูงอายุอาศัยกับผู้สูงอายุ จำนวน ๑๙ ครัวเรือน ร้อยละ ๒.๕๑ อาศัยตามลำพัง ๑๒ ครัวเรือน ร้อยละ ๑.๕๙ มีผู้สูงอายุที่เป็นผู้พิการ จำนวน 326 คน คิดเป็นร้อยละ 17.79 ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 200 คน ร้อยละ 10.92 มีผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง จำนวน 3 คน ร้อยละ 1.5ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน ๑,๐๖๒ คน ร้อยละ ๕๙.๖๓ แยกเป็นชาย ๓๑๒ คน ร้อยละ ๑๗.๕๒ หญิง ๗๕๐ ร้อยละ ๔๒.๑๑ มีความเครียด จำนวน ๑๓๐ คน ร้อยละ ๑๔.๘๙ ไม่ได้ออกกำลังกาย จำนวน ๑๑๒ คน ร้อยละ ๑๒.๘๒ ทำงานหนักพักผ่อนน้อย จำนวน ๑๐๒ คน ร้อยละ ๑๑.๖๘ ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๘๕ คน ร้อยละ ๙.๗๓ ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน ๘๕ คน ร้อยละ ๙.๗๓ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน ๑,๔๘๙ คน ร้อยละ ๘๓.๖๐ แยกเป็นชาย ๖๖๗ คน ร้อยละ ๓๗.๔๕ หญิง ๘๒๒ คน ร้อยละ ๔๖.๑๕ ผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังจากมากไปหาน้อย ๗ อันดับ ดังนี้ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๕๖๘ คน ร้อยละ ๓๘.๑๔ กลุ่มโรคเบาหวาน จำนวน ๒๕๖ คน ร้อยละ ๑๗.๑๙ กลุ่มโรคไขมันในเลือด จำนวน ๒๒๒ คน ร้อยละ ๑๔.๙๑ กลุ่มโรคกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ จำนวน ๑๗๗ คน ร้อยละ ๑๑.๘๙ โรคภูมิแพ้ จำนวน ๑๗๑ ร้อยละ ๑๑.๔๘ โรคอ้วน จำนวน ๑๓๐ คน ร้อยละ ๘.๗๓ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร จำนวน ๘๒ คน ร้อยละ ๕.๕๑ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลสร้างถ่อ ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวียืนยาว (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

43.00 67.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ ( หน่วยเคลื่อนที่ตามหมู่บ้าน )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ ( หน่วยเคลื่อนที่ตามหมู่บ้าน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมใหม่ๆที่ สามารถผลิตใช้ด้วยตนเองได้
2.2 กิจกรรมฝึกอบรมการทำอาหารที่เหมาะสมกับวัย/การรับประทานอาหารที่ปลอดภัยถูกหลักอนามัย 2.3 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อก่อให้เกิดลานสุขภาพในพื้นที่ 2.4 กิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
2.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพจิตที่ดีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจผู้สูงอายุใน
การดำเนินชีวิต


>