กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวียืนยาว (โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสร้างถ่อ)
รหัสโครงการ L660425653001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตำบลสร้างถ่อ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิ่นแก้ว ครองยุติ ตำแหน่ง ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตำบลสร้างถ่อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 15.39779,104.502211place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1625 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมในปัจจุบันตำบลสร้างถ่อมีผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันทั้งด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิตประกอบกับวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุและหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ จำนวน ๑๗ หมู่บ้าน มีพื้นที่ ๗๕ ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร9,487 คน แยกเป็นเพศชาย 4,721 คน (ร้อยละ 49.77) เพศหญิง 4,766 คน (ร้อยละ 50.23) จำนวน 2,668 ครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูล TCNAP PLUS พบว่าตำบลสร้างถ่อมีประชากรที่เตรียมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (๕๐-๕๙ ปี) จำนวน ๑,๔๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๙๓ ของจำนวนประชากรมีผู้สูงอายุจำนวน 1,832 คน แยกเป็น ชาย 854 คน หญิง 978 คน คิดเป็นร้อยละ 19.20ของจำนวนประชากร ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ จำนวน ๗๕๔ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.02 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับลูกหลาน จำนวน ๗๒๓ ครัวเรือน ร้อยละ ๙๕.๘๙ รองลงมาคือผู้สูงอายุอาศัยกับผู้สูงอายุ จำนวน ๑๙ ครัวเรือน ร้อยละ ๒.๕๑ อาศัยตามลำพัง ๑๒ ครัวเรือน ร้อยละ ๑.๕๙ มีผู้สูงอายุที่เป็นผู้พิการ จำนวน 326 คน คิดเป็นร้อยละ 17.79 ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 200 คน ร้อยละ 10.92 มีผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง จำนวน 3 คน ร้อยละ 1.5ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน ๑,๐๖๒ คน ร้อยละ ๕๙.๖๓ แยกเป็นชาย ๓๑๒ คน ร้อยละ ๑๗.๕๒ หญิง ๗๕๐ ร้อยละ ๔๒.๑๑ มีความเครียด จำนวน ๑๓๐ คน ร้อยละ ๑๔.๘๙ ไม่ได้ออกกำลังกาย จำนวน ๑๑๒ คน ร้อยละ ๑๒.๘๒ ทำงานหนักพักผ่อนน้อย จำนวน ๑๐๒ คน ร้อยละ ๑๑.๖๘ ดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน ๘๕ คน ร้อยละ ๙.๗๓ ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน ๘๕ คน ร้อยละ ๙.๗๓ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน ๑,๔๘๙ คน ร้อยละ ๘๓.๖๐ แยกเป็นชาย ๖๖๗ คน ร้อยละ ๓๗.๔๕ หญิง ๘๒๒ คน ร้อยละ ๔๖.๑๕ ผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังจากมากไปหาน้อย ๗ อันดับ ดังนี้ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๕๖๘ คน ร้อยละ ๓๘.๑๔ กลุ่มโรคเบาหวาน จำนวน ๒๕๖ คน ร้อยละ ๑๗.๑๙ กลุ่มโรคไขมันในเลือด จำนวน ๒๒๒ คน ร้อยละ ๑๔.๙๑ กลุ่มโรคกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ จำนวน ๑๗๗ คน ร้อยละ ๑๑.๘๙ โรคภูมิแพ้ จำนวน ๑๗๑ ร้อยละ ๑๑.๔๘ โรคอ้วน จำนวน ๑๓๐ คน ร้อยละ ๘.๗๓ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร จำนวน ๘๒ คน ร้อยละ ๕.๕๑ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลสร้างถ่อ ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวียืนยาว (โรงเรียนผู้สูงอายุ) ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ 925 คน (เป้าหมาย 1 ปี ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพียงพออย่างน้อย 400 คน)

67.54
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 ให้ความรู้การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ(14 ก.ค. 2565-14 ก.ค. 2565) 40,000.00                
2 ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ(14 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 10,000.00                
3 ติดตามประเมินผล(14 ก.ค. 2565-14 ก.ค. 2565) 0.00                
รวม 50,000.00
1 ให้ความรู้การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 485 40,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ประยุกต์ใช้หมอลำกลอน(โดยนักร้องหมอลำในหมู่บ้าน) และประยุกต์ท่ามวยไทยประกอบเพลง (โดยนายกฯเเป็นอดีตนักมวย) 400 30,000.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมพัฒนาแกนนำเพื่อขับเคลื่อนการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน 85 10,000.00 -
2 ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 800 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ผู้สูงอายุทำกิจกรรมทางกายตามความเหมาะสมในโรงเรียนผู้สูงอายุ 400 5,000.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ผู้สูงอายุรวมกลุ่มจัดกิจกรรมทางกายในหมู่บ้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 400 5,000.00 -
3 ติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 400 0.00 0 0.00
14 ก.ค. 65 ติดตามประเมินผลการมีกิจกรรมทางกาย โดย อสม.สำรวจข้อมูล 400 0.00 -
14 ก.ค. 65 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล รายงานผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย 2.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพจิตที่ดีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3.ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจผู้สูงอายุใน การดำเนินชีวิต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 14:42 น.