กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคลองแหใหม่ ร่วมใจ ก้าวผ่านโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคลองแหใหม่ ร่วมใจ ก้าวผ่านโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลเมืองคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

32.25
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

75.00
3 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

60.00

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดสงขลา ติดเชื้อสะสม 8,796 ราย โดยอำเภอที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดวันนี้ ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา อำเภอรัตภูมิ อำเภอจะนะ และอำเภอเมืองสงขลา ตามลำดับ ด้านการบริหารการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ฉีดแล้วสะสมร้อยละ 78.92 เข็มที่ 2 ฉีดแล้วสะสมร้อยละ 72.56 เข็มที่ 3 ฉีดแล้วสะสมร้อยละ 24.20 และเข็มที่ 4 ฉีดแล้วสะสมร้อยละ 1.79 ขณะที่ผู้เสี่ยงชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม 608 คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และบวกกับอีกหนึ่งกลุ่มคือกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งการรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุ่นแรง ลดอัตราการเสียชีวิต และการติดเชื้อจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา มติกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นโดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (12 มีนาคม – ต้น เมษายน 2565) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง ระยะที่ 2 (เมษายน – พฤษภาคม 2565) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ ระยะที่ 3 (ปลายพฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2565) เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000 – 2,000 คน และอีกบวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่นเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห จึงได้จัดทำโครงการคลองแหร่วมใจ ก้าวผ่านโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น ประจำปี 2565 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคประจำถิ่น จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองได้ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

32.25 50.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

75.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 170
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 9 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนงานการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.แผ่นพับประชาสัมพันธ์รณรงค์ จำนวน 1,000 แผ่นๆละ 10 บาท รวมเป็น 10,000 บาท

2.ป้ายไวนิล x-stand จำนวน 10 ป้ายๆละ 1,800 บาท 18,000 บาท

3.ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ (ขนาด 1.5 x 2.5 ม.) ตารางเมตรละ 120 บาท จำนวน 10 แผ่น รวมเป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาสัมพันธ์โครงการ

รณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32500.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังการแพร่ระบาด

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังการแพร่ระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 450 มิลลิลิตร จำนวน 100 ขวดๆละ 120 บาทรวมเป็นเงิน 12,000 บาท

3.สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 100 มิลลิลิตร จำนวน 100 ขวดๆละ 100 บาทรวมเป็นเงิน 12,000 บาท

4.สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 3,800 มิลลิลิตร จำนวน 20 แกลอนๆละ 800 บาทรวมเป็นเงิน 16,000 บาท

5.หน้ากากอนามัย จำนวน 100 กล่องๆละ 125 บาท รวมเป็นเงิน 12,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อุปกรณ์การป้องกันการติดเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38100.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมโรคติดต่ออันตรายสู่โรคประจำถิ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมโรคติดต่ออันตรายสู่โรคประจำถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน  2 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 18,000.- บาท

2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 200 คนๆละ 60 บาท  เป็นเงิน 12,000.- บาท

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท

4.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 200 ใบๆละ 100 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

5.คู่มือการอบรม จำนวน 200 คนละๆ 50 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

6.ไวนิลโครงการ (ขนาด 1.5 x 2.5 ม.) ตารางเมตรละ 120 บาท จำนวน 1 แผ่น รวมเป็นเงิน 450 บาท

6.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2565 ถึง 22 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ และการปรับใช้ชีวิตตามวิถีแบบใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
74450.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 6 กรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กรณีเกิดโรคระบาดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.แอลกอฮอล์เจล ขนาด 450 มิลลิลิตร จำนวน 60 ขวดๆละ120 บาทรวมเป็นเงิน 7,200 บาท

2.สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 450 มิลลิลิตร จำนวน 60 ขวดๆละ 120 บาทรวมเป็นเงิน 7,200 บาท
3.หน้ากากอนามัยจำนวน 10 กล่องๆละ 125 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท

4.ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์( สำลี แอลกอฮอล์เป็นต้น) จำนวน 5,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20650.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท

2.ค่าจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ และจัดส่งสรุปรายงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
875.00

กิจกรรมที่ 8 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 375 บาท

2.ค่าจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ และจัดส่งสรุปรายงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 168,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคประจำถิ่น

2. ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองเมื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่น

3. ประชาชนตระหนักในการดูแลตนเอง เมื่อปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น


>