กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) รพ.สต.บ้านสะพานเคียน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไป ในปี 2564ประชาชนอายุ30 ปี ขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 798 คนคิดเป็นร้อยละ 98.64 พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจำนวน216 คนคิดเป็นร้อยละ 27.06และจากผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไปในปี 2564ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียนจำนวน 963 คน คิดเป็นร้อยละ 99.07 พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มสงสัยต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน10คน คิดเป็นร้อยละ 1.03จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานเคียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน
  1. ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับดี
0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรังมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้
  1. ร้อยละ 70 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนทัศนคติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับดี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคเรื้อรัง (NCDs)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคเรื้อรัง (NCDs)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 1,500 บาท   4.1 สมุดบันทึก จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท   4.2 ปากกา จำนวน  50 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 5.ไวนิล ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 แผ่น แผ่นละ 390 บาท เป็นเงิน 390บาท รวมเป็นเงิน 9,190 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9190.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>