กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้กิน รู้ปลูก ผักปลอดสาร ต้านโรคภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศแต่ปัจจุบันเด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคต่างๆได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กและเยาวชน เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมการรู้กิน รู้ปลูกผักปลอดสารพิษที่ควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองและปลอดภัย
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรีเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน โดยให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำโครงการรู้กิน รู้ปลูก ผักปลอดสารต้านโรคภัยภายในโรงเรียนเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน นักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย และมีสุขภาพที่แข็งแรงปลอดภัยจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. นักเรียนตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ
  1. นักเรียนมีความรู้และตระหนักในการเลือกบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยต่อ  สุขภาพ
0.00
2 2. นักเรียนสามารถเลือกบริโภคผักสดปลอดสารพิษได้อย่างเหมาะสม
  1. นักเรียนสามารถปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในโรงเรียนและในครัวเรือนตนเองได้
0.00
3 3. นักเรียนสามารถปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในโรงเรียนและในครัวเรือนเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.  ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2565 ถึง 1 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ดำเนินการตามโครงการ

กิจกรรม 1.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับปฏิบัติการให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับประโยชน์ของ การบริโภคผักปลอดสารพิษต่อสุขภาพ 2.นักเรียนลงมือปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบ 3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

ค่าใช้จ่าย จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์

๑.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนละ ๓ ชั่วโมงเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๒.ค่าอาหารว่างจำนวน ๑ มื้อ ๑๕๕x๒๐ เป็นเงิน ๓,๐๐๐บาท ๓.ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก ๑.๑ เมล็ดพันธุ์ผักกะหล่ำปลี ๑๕ ซองซองละ ๒๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐บาท ๑.๒ เมล็ดพันธุ์ผักมะเขือเทศ ๑๕ ซองซองละ ๒๐ บาทเป็นเงิน๓๐๐ บาท ๑.๓ เมล็ดพันธุ์ผักคะน้า๑๕ ซองซองละ ๒๐ บาท เป็นเงิน๓๐๐ บาท ๔. ค่าส้อมพรวน ๔๐ ด้ามๆ ละ๒๕บาทเป็นเงิน๑,๐๐๐บาท
๕. ค่าบัวรดน้ำขนาด ๓ ลิตร ๒๐ อันๆ ละ ๔๕ บาท เป็นเงิน ๙๐๐บาท
๖. ค่าดินผสมปลูกพืชผัก๗๐ ถุงละ ๒๕ บาทเป็นเงิน๑,๗๕๐บาท ๗. ค่าปุ๋ยคอก ๓๕ กระสอบ ๆ ละ ๗๐ บาท เป็นเงิน๒,๔๕๐บาท ๘. ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒ X ๒.๔ เมตรเป็นเงิน๔๖๐ บาท ๙. ถุงกระสอบ ขนาด ๘ x ๑๕ นิ้วจำนวน๗๑ ใบๆ ละ ๗ บาท เป็นเงิน๔๙๗ บาท


รวมเป็นเงิน๑๒,๗๕๗บาท(หนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบเจ็ดบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ตามความเหมาะสม)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 1 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12757.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  ติดตามและประเมินผล 2.  รายงานผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,757.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ
2.นักเรียนสามารถเลือกบริโภคผักสดปลอดสารพิษได้อย่างเหมาะสม
๓. นักเรียนสามารถปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในโรงเรียนและในครัวเรือนเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคได้นักเรียนสามารถเลือกบริโภคผักสดปลอดสารพิษได้อย่างเหมาะสม


>