กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมครอบครัวเป็นฐานจัดการความรอบรู้สู่การมีสุขภาพดีวิถีใหม่ในวัยทำงาน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

นางสุวรีย์ ปินคำ นางสุรัสวดีสะสมและคณะ

ในชุมชนและรพ.สต. บ้านโตน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยกลุ่มวัยทำงาน หมายถึงประชาชนที่มีอายุ ระหว่าง อายุ 15-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีมากในสัดส่วน2 ใน 3ของประชากรทั้งหมดที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูกลุ่มวัยผู้สูงอายุ เด็กดูแลทุกคนในครอบครัว ซึ่งเป็นวัยที่มีศักยภาพในการทำงานและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆใน ชุมชน หากมีการเจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังจะทำให้มีอุปสรรคต่อการทำงาน หาเลี้ยงครอบครัวสถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจสุขภาพสังคม จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้ง 3 มิติ โดยการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การวางแผนชีวิตอย่างมีคุณค่า บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง การให้ความสำคัญการสร้างความรอบรู้สร้างความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพเฝ้าระวังป้องกันโรค เพื่อให้วัยทำงานมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน ปฎิบัติเป็นประจำ และมีความรอบรู้ในการเลือกบริโภคอาหารใส่ใจในโภชนาการ มีการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่องมีพฤติกรรมที่ชะลอวัยป้องกันการหกล้ม หลงลืม ป้องกันภาวะสมองเสื่อม และมีการเฝ้าระวัง ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว จะทำให้กลุ่มวัยทำงาน เหล่านี้ก้าวเข้าสู่ผู้วัยสูงอายุ อย่างมีคุณภาพ ในวันข้างหน้า
จากข้อมูลประชากรวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี )ที่อาศัยอยู่จริงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต บ้านโตน มีจำนวน ทั้งหมด1,408 คน ข้อมูลสถานะสุขภาพส่วนใหญ่จะมีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรม สุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สถิติข้อมูล 3 ปี ย้อนหลังพบว่าประชาชนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตั้งแต่ปี 2562 จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 8 คน ปี 2563 จำนวน 8 คน และปี 2564 จำนวน 13 คนรวมทั้งหมดผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบ230คน ที่ติดตามการรักษา 111 คน และป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 558 คน ติดตามการรักษาที่รพ.สต.
209 คนพบใหม่ในปี 2562 จำนวน 16 คน ปี 2563 จำนวน 15 คนและ ปี 2564 จำนวน 9 คน
เนื่องจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพลำดับที่หนึ่งของประชาชนวัยทำงานในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านโตน ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและครอบครัวหากเป็นผู้ป่วย จะต้องรับการรักษาตลอดชีวิตและ หากขาดการใส่ใจเรื่องความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง หรือจัดการสุขภาพด้วยตนเองได้น้อย ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคก็จะได้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง ที่ต้องรักษาในระยะยาว และ ใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลจำนวนมากและเพื่อดำเนินการตาม นโยบายสุขภาพดี วิถีใหม่ 3 อ.” ปี 2565 ของกระทรวงสาธารณสุข จากเหตุผลความจำเป็นและสภาพปัญหาดังกล่าว รพ.สต.บ้านโตน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ครอบครัวเป็นฐานจัดการความรอบรู้ สู่การมีสุขภาพดี วิถีใหม่ในวัยทำงานปี2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและครอบครัวมีความรอบรู้ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2.เพื่อลดอัตราเสี่ยงสูง อัตราป่วย ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง และลดภาวะแทรกซ้อนใน กลุ่มป่วย
ความพิการที่ป้องกันได้
3. เพื่อพัฒนา แกนนำ อสม. ในการติดตามการเฝ้าระวังป้องกันโรค ในกลุ่มวัยทำงานในชุมชน


ตัวชี้วัด งานโรคไม่ติดต่อ
1. ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ≥ ร้อยละ 90
2. กลุ่มประชาชนที่สงสัยป่วย ได้รับการตรวจติดตาม DM ≥ร้อยละ80 HT≥ ร้อยละ80
3. กลุ่มสงสัยป่วยมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (HL) ≥ ร้อยละ10
4. ผู้ป่วยNCD ได้รับการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ( HL) ≥ ร้อยละ50
5. ผู้ป่วย NCD ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน ≥ร้อยละ80
6. ผู้ป่วย DM ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ≥ ร้อยละ40
7. ผู้ป่วย HT ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ≥ ร้อยละ50
8. ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและส่งเสริมความรอบรู้ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,408
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ประชุม เพิ่มพูนความรอบรู้สู่แกนนำ อสม.ในการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ประชุม เพิ่มพูนความรอบรู้สู่แกนนำ อสม.ในการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม ประชุม เพิ่มพูนความรอบรู้สู่แกนนำ อสม.ในการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชนหมู่ละ 10 คน รวม50 คน เพื่อติดตาม สื่อสารความรู้สู่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และการติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ของกลุ่มเสี่ยง กระตุ้นครอบครัวในการส่งเสริมการปรับพฤติกรรมคนในบ้าน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคเรื้อรัง 1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม 1มื้อจำนวน50 คนx 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 2 ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 3 ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้2 ชม. ๆละ 600 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม การเสวนาส่งเสริมความรอบรู้ ( Health Literacy )และ กิจกรรม kick off ออกกำลังกายร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การเสวนาส่งเสริมความรอบรู้ ( Health Literacy )และ กิจกรรม kick off ออกกำลังกายร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม การเสวนาส่งเสริมความรอบรู้ ( Health Literacy )และ กิจกรรม kick off ออกกำลังกายร่วมกันสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และคนในครอบครัวจำนวน เป้าหมาย 80 คน 1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม 1มื้อจำนวน80 คนx 70 บาท เป็นเงิน5,600บาท 2ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,000บาท 3 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืนๆละ 300 บาทเป็นเงิน 300บาท 4ค่าวัสดุสาธิตอาหาร และวัสดุเอกสารการดำเนินงานเป็นเงิน 1,000บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้4 ชม. ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง /ครอบครัว ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง /ครอบครัว ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง /ครอบครัว ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางด้าน ตา ไตวายเรื้อรังเป้าหมาย70คน 1 ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าประชุม 1 มื้อจำนวน 70 คน x70 บาทเป็นเงิน 4,900บาท 2 ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500บาท 3 ค่าสมนาคุณวิทยากร 4 ชม.ๆละ 600บาทเป็นเงิน 2,400บาท
4 ค่าวัสดุเอกสาร การดำเนินงาน เป็นเงิน 270บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11070.00

กิจกรรมที่ 4 การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ในการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ในการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมความรู้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญด้านการตรวจเต้านมในการสื่อสารความเสี่ยงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งฝึกทักษะ การสอนการ ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องที่บ้านจำนวน30 คน 1ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1มื้อๆละ 70 บาท 30 คนเป็นเงิน2,100 บาท
2ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน750 บาท 3ค่าถ่ายเอกสารความรู้และแบบบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง720 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน720บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,890.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรอบรู้ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแล
กลุ่มเป้าหมายบ้านตนเองได้
2. อัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ลดลง และจำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนใน กลุ่มป่วย
ความพิการที่ป้องกันได้
3. มีแกนนำ อสม.มีความเชี่ยวชาญมีความรู้ในการติดตามการสื่อสารความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ใน
การเฝ้าระวังป้องกันโรค ในกลุ่มวัยทำงานในชุมชนได้
4. มีแกนนำ อสม. ที่เชี่ยวชาญตรวจเต้านม และให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการตรวจเต้านมด้วย
ตนเองได้


>