กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ป้องกันภัยโรคโควิด-19 รพ.สต.บ้านโคกยา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

รพ.สต.บ้านโคกยา

อบต.เขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19) ที่ กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ พบครั้งแรกกลางทศวรรษที่ 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด เป็นไวรัสที่ สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) เริ่มต้นขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 แรกเริ่ม ถูกค้นพบจากสัตว์ โดยเป็นสัตว์ทะเลที่มีการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วคนที่ อยู่ใกล้ชิดคลุกคลีกับสัตว์เหล่านี้ก็ติดเชื้อไวรัสมาอีกที โดยเริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อ ไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอด โดยเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายลุกลามอย่างรวดเร็วและเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ปอดเกิดการเสียหายและสุญเสียการทำงานหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้ผู้ป่วย เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็น ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563 และประกาศให้เป็นโรค ระบาดทั่วไป ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2563 และวันที่ 15 มกราคม 2564 มีผู้ติดเชื้อยืนยันแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ทุกทวีป ทั่วโลก หรือ Pandemic
ประเทศไทยพบผู้ป่วยรายแรก เมื่อวันที่ 15 ม.ค.63 กลับมาจากต่างประเทศ
31 ม.ค.63 ไทยรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อในประเทศไทย รายแรก(คนขับ Taxi)
26 ก.พ.63 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย
25 มี.ค.63 นายกฯประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับแรก ต่อจากนั้นพบมีการระบาดเรื่อยมา จนกระทั่งระบาดหนักที่สุดทั้งประเทศ ในเดือน เมษายน 2564 จนกระทั่งถึงเดือน มกราคม 2565 เป็นต้นมา
เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาพบผู้ป่วยรายแรก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เพศหญิงอายุ 31 ปี อาชีพพนักงานบริษัทต่อจากนั้น พบการระบาดเรื่อยมา เป็นกลุ่มก้อน ละแวกบ้าน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน และการระบาดลงสู่ครัวเรือนเดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม 2565 พบการระบาดมากที่สุดรวมทั้งในภาพรวมของอำเภอและจังหวัด ส่งผลกระทบทุกภาคส่วนเป็นวงกว้าง โดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาทั้งหมด 558/ประชากรทั้งหมด 2740 คิดเป็นอัตราป่วย 20364.96/แสนประชากร นับเป็นอัตราป่วยที่สูง
โรคโควิด-19 มีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่โดยผ่านการติดเชื้อจาก ละอองเสมหะ จากการไอ ระยะเวลาระหว่างการสัมผัสเชื้อและเริ่มมีอาการ โดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 5 วัน แต่มีช่วงอยู่ระหว่าง 2 ถึง 14 วัน อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ภาวะแทรกซ้อน อาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยยังไม่มีวัคซีน ที่ได้รับอนุญาตหรือ ยาต้านไวรัสจำเพาะ แต่กำลังมีการวิจัยอยู่ขณะนี้ การรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการ และการรักษาแบบประคับประคอง มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำคือการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น (โดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย) ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ควบคุมโรค และเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการสร้างเครือข่ายการทำงาน ที่มีคุณภาพ เข้าถึงเร็ว ควบคุมเร็ว ในทุกเขตและพื้นที่ รวมถึงการใช้มาตรการตอบโต้สถานการณ์ที่รวดเร็ว ฉับไว และการสร้างความรู้ความร่วมมือในการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันโรค ด้วยหลัก Universal Prevention เป็นหลักครอบจักรวาลที่ได้ผลมากที่สุด การเฝ้าระวังตรวจจับคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง การกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้ได้มากกว่าร้อยละ 60 และการเฝ้าระวังดูแลกลุ่มเปราะบาง เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิต และพร้อมที่จะก้าวไปสู่ระยะของการเปลี่ยนผ่านไปสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย(เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันในการปฏิบัติควบคุมโรคจาก Cupไม่เพียงพอ)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรค

๑.ประชาชนมีความรู้และปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามมาตรการ Universal Prevention ร้อยละ 95

0.00 0.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19

๒.ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าร้อยละ 60

0.00
3 3.เสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรคและเพื่อสร้างการดำเนินชีวิตแบบใหม่ New Normal Life

3.ลดอัตราป่วยลง 50% จากอัตราป่วยของปีที่ ผ่านมา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1ประชุมให้ความรู้แกนนำ ภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
1ประชุมให้ความรู้แกนนำ ภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมให้ความรู้แกนนำ ภาคีเครือข่าย(แยกรายหมู่บ้าน) มาตรการรับมือกรณีเปลี่ยนผ่าน จากโรคระบาด Pandemicสู่โรคประจำถิ่น Endemic -ค่าอาหารว่างมื้อละ 25 บาทจำนวน 150 คนเป็นเงิน3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชุมทีม SRRT ระดับตำบล วางแผน การทำงาน

ชื่อกิจกรรม
2.ประชุมทีม SRRT ระดับตำบล วางแผน การทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.ประชุมทีม SRRT ระดับตำบล วางแผน การทำงาน  จำนวน 4 ครั้ง หรือกรณีมีผู้ป่วย (ทีม SRRT จำนวน 20 คน)    - ค่าอาหารว่างมื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน 2 ครั้ง  เป็นเงิน (20x25x2) 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประชุมทีม เพื่อเยี่ยมติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
3.ประชุมทีม เพื่อเยี่ยมติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.ประชุมทีม เพื่อเยี่ยมติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย 2 ครั้ง    - ค่าอาหารว่างมื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน 8 ครั้ง เป็นเงิน (20x25x2) 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 4.ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ตำบลเพื่อสรุปผลและวางแผนแก้ไขการทำงาน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
4.ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ตำบลเพื่อสรุปผลและวางแผนแก้ไขการทำงาน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ตำบลเพื่อสรุปผลและวางแผนแก้ไขการทำงาน จำนวน 2 ครั้ง -ค่าอาหารว่างมื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน 2 ครั้ง เป็นเงิน (20x25x2) 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรมทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรมทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 16,750บ.

-แอลกอฮอล์ 95% (1,000ml) แกลลอนละ 250 จำนวน 6 แกลลอน เป็นเงิน 1,500 บาท

-เจลว่านหางจระเข้ 300 ml กระปุกละ 335บาท จำนวน 12 กระปุก เป็นเงิน 4,020 บาท

-น้ำกลั่น 1000 ML ขวดละ95 บาท จำนวน 5 ขวด เป็นเงิน 475 บาท

-กลีเซอรีนเหลว 1000ML แกลลอนละ 160 บาท จำนวน 5 แกลลอน เป็นเงิน 800 บาท

-เสื้อคลุมกันเปื้อน 200 ตัวๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

-หน้ากากอนามัย 4 ชั้น กล่องๆละ250 บาท จำนวน 5 กล่อง เป็นเงิน 1,250 บาท

-สก็อตเทปเยื่อกระดาษ ไมโครปอร์ 1นิ้ว ความยาว 10 หลา ราคาม้วนละ 57 บาท จำนวน 10 ม้วน เป็นเงิน 570 บาท

-หน้ากากพลาสติก (face Shield) ชิ้นละ 39 บาทจำนวน 100 ชิ้น เป็นเงิน 3,900 บาท

-หมวกคลุมผม 100 ชิ้น/กล่องๆละ 180บาท จำนวน 4 กล่อง เป็นเงิน 720 บาท

-ชุดอุปกรณ์สาธิตการทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือพร้อมขวดบรรจุ 2,955 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19 ลดลง

2.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง

3.มีมาตรการการป้องกันโรคในชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน


>