กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง ลดภาวะพร่องโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

โรงเรียนกระจายสุทธิธรรมโมอนุสรณ์ฯ

1. นางสาวเรืองไร ผดุงศักดิ์
2. จริยา จันทร์สว่าง
3. นางสาวรัชนก สันนะกิจ
4. นางสาววิยะดา รักหมัด
5. นางสาวกิติญา รักหมัด

ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ (นักเรียนที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนประชารัฐ 64 คน)

 

60.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีพัฒนาการทางสมองต้องปรับปรุง

 

40.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังอยู่ในระดับปรับปรุง

 

40.00
4 ร้อยละของนักเรียนที่มีพัฒนาการทางร่างกายในระดับปรับปรุง

 

40.00

ด้วยปัจจุบันโรงเรียนกระจายสุทธิธรรมโมอนุสรณ์ มีนักนักเรียนทั้งหมด 132 คน เป็นนักเรียนอยู่ในโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 68 คน นักเรียนที่ไม่อยู่ในโคงการ จำนวน 64 คน เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองมีอาชีพทำสวน รับจ้างทั่วไป ต้องออกไปประกอบอาชีพตั้งแต่เช้า ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้ปกครองส่วนนึงมีรายได้ที่ตกต่ำลง ส่วนหนึ่งถูกเลิกจ้างงาน การประกอบอาชีพมีความยากลำบาก นักเรียนหลายคนต้องหาซื้อกินเองทำให้ได้รับสารอาหารที่ยังไม่เพียงพอและเหมาะสมตามหลักโภชนาการ ส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาทางด้านร่างกายและพัฒนาการทางด้านสมองไม่เต็มที่ตามวัย ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา ซึ่งแม้ทางโรงเรียนได้มีโครงการการยกระดับผลสมฤทธิ์ กิจกรรมการสอนซ่อมเสริม แต่ผลสัมฤทธิ์ก็ยังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา ทางโรงเรียนเห็นว่าการจัดอาหารเช้าที่มีคุณภาพ ถูกตามหลักโภชนาการให้กับนักเรียนดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้พัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองได้ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ

นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ

80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการทางสมองที่ดี

ร้อยละของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

30.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดี

ร้อยละของนักเรียนมีการเจริญเติบโตสมวัย

30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 39
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประกาศนโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม เกิดมาตรการของโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
การประกาศนโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม เกิดมาตรการของโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมครู บุคลากร คณะกรรมการศึกษา และผู้ปกครอง ประกาศนโยบายโรงเรียน ร่วมกันกำหนดมาตรการและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มกราคม 2565 ถึง 28 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดนโยบาย มาตราการต่างๆ และบันทึกข้อตกลงร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหาร

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัยและการใช้ประโยชน์
  • การสร้างสภาพแวดล้อมทีเอื้อต่อการจัดการระบบอาหาร
  • โรงเรียนปลูกพืชผักรั้วกินได้ เพื่อแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
  • ส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มใช้ในระบบของโรงเรียน
  • การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในโรงเรียน
  • การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัวของโรงเรียน

ค่าใช้จ่าย

  • เมล็ดพันธ์ุผัก 50 ซองๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
  • ปุ๋ยมูลสัตว์ 20 กระสอบๆละ 80 บาท รวมเป็นเงิน 1,600 บาท
  • ปุ๋ยชีวภาพ 6 กระสอบๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  • จอบ 20 ด้ามๆละ 380 บาท รวมเป็นเงิน 7,600 บาท
  • หญ้าเทียมปรับสภาพแวดล้อมในโรงอาหาร จำนวน 40 ตารางเมตรๆละ 200 รวมเป็นเงิน 8,000 บาท
  • ตะกร้าใส่ขยะ 20 ใบๆละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนมีพืชผักรั้วกินได้ที่ปลอดสารพิษ
  • นักเรียนรู้จักใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
  • นักเรียนมีส่วนในการปลูกผักร่วมกัน
  • โรงเรียนมีบรรยากาศสภาพแสดล้อมที่ดีเอื้อต่อสุขภาพนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24700.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาทักษะส่วนบุคคล การพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะส่วนบุคคล การพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ การพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามรถในการจัดการอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ส่งเสริมการรวมกลุ่มและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยฃน์ในการรับประทานอาหารเช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและที่รับประทานไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ จำนวน 39 คน ค่าใช้จ่าย

  • ค่าจัดทำอาหารเช้า จำนวน 93 มื้อ มื้อละ 20 บาท จำนวนนักเรียน 39 คน รวมเป็นเงิน 72,540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า (ร้อยละ 60 ของนักเรียน) จะได้รับอาหารเช้าทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
72540.00

กิจกรรมที่ 5 การประเมินภาวะโภชนาการการเจริญเติบโตของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
การประเมินภาวะโภชนาการการเจริญเติบโตของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การประเมินภาวะโภชนาการจากน้ำหนัก ส่วนสูง โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงก่อนดำเนินโครงการทุกๆ 1 เดือน จนเสร็จสิ้นโครงการ
  • ประเมินจากยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประเมินภาวะโภชนาการจากน้ำหนักและส่วนสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการครบถ้วนเหมาะสมตามวัย

- นักเรียนมีสุขภาพด้านร่างกายที่ดีขึ้น

- นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น


>