กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวฝาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการดำเนินงาน การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หัวฝาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง

นางสาวสมฤทัย กวาวสิบสาม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

9.04
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.42

นโยบายระดับชาติมุ่งหวังให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกันเอง ในชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหา วิถีชีวิตและบริบทของชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง นำไปสู่การลดรายจ่ายด้านสุขภาพและมีสุขภาพดี ตามวิถีไทยอย่างยั่งยืน ในการดำเนินงานสร้างสุขภาพ เป็นงานที่ทำได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการ ขาดการใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง การนำกลวิธีต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น งานสาธารณสุขมูลฐาน งานสุขภาพดีถ้วนหน้า การสร้างแกนนำครอบครัว ระบบสุขภาพภาคประชาชน เข้ามาดำเนินงานซึ่งล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลที่ต้องใส่ใจ ตระหนักถึงการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง การที่จะทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง อย่างเป็นธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยไม่รู้สึกเป็นภาระ จะต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ ทำซ้ำจนเคยชิน จนทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้คนในชุมชนมีการใส่ใจในการสร้างสุขภาพอย่างแท้จริง ร่วมกันคิดและร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ ด้วยการรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อดูแลซึ่งกันและกันทั้งด้านการจัดการด้านสุขภาพ การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของตน มีการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนและปฏิบัติต่อสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม
ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง มีจำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรอง โรคไม่ติดต่อ จำนวน ๑,309 คน มีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 191 คน และสงสัยป่วยจำนวน 53 คน มีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 123 คน และสงสัยป่วย จำนวน 5 คน (ข้อมูลอ้างอิง ควร เป็น 3 ปี จะได้เห็น แนวโน้ม)
ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน ปี 2561 – 2564 คัดกรองได้ร้อยละ 96.77 ,98.27,97.27 ,97.41 ,100,ตามลำดับ
ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2561 – 2564 คัดกรองได้ร้อยละ 96.28 ,95.91,96.76 ,97.41 ,97.89ตามลำดับ
ปี2563, 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 5, 35 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.30 ,2.00กลุ่มเสี่ยง 123, 158 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.26 ,9.04
ปี 2563 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 53 , 17คน คิดเป็น ร้อยละ 3.13,1.37 กลุ่มเสี่ยง 191 , 135 คน คิดเป็น ร้อยละ 14.85 ,10.42
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วเพื่อให้ประชาชนและชุมชน มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทำให้ลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนตลอดจนลดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ประชาชนไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 128
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมในกลุ่มประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมชี้แจง อสม.จำนวน 128 คน ในการคัดกรองโรคในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป และการคัดกรองในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นเวลา 1 วัน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้ทราบ
  3. ดำเนินการคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,920 คน)
  4. จัดทำทะเบียนกลุ่มปกติ / กลุ่มเสี่ยง / กลุ่มป่วย งบประมาณ 1  ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2 วันๆละ 3 หมู่ 1.1  ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคความดัน    โลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อการคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1  มื้อๆ ละ 80 บาท จำนวน 128 คน เป็นเงิน 10,240 บาท 1.2  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคความ ดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อการคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2 มื้อ ๆ      ละ 25 บาท 128 คน เป็นเงิน 6,400  บาท
    1.3  ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 19,640 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันหกร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
  5. อสม.คัดกรอง เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มประชาชนทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป คัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยอสม.ในประชาชน               ตามรายละเอียด ดังนี้ 2.1  ค่าเอกสารแผ่นคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 – 60 ปี จำนวน 800 คน จำนวน 800 ชุดๆละ 1.50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท กลุ่มอายุ 60ปี ขึ้นไป จำนวน 420 คน จำนวน 420 ชุดๆละ 2.50 บาทเป็นเงิน 1,050 บาท รวมค่าถ่ายเอกสารเป็นเงิน 2,250 บาท
    2.2  ค่าเอกสารชุดคัดกรอง ADL ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 500 ชุด 1 ชุด ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท รวมค่าเอกสารทั้งหมด 3,750 บาท 2.3 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2x2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน ราคาผืนละ 500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,890 บาท (สองหมื่นสามพันแปดร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน และ ความดันโลหิต ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23890.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมในกลุ่มเสี่ยงสูง 1.  จัดอบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน 2.  ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงสูง ภายในเวลา 1 – 3 เดือน
งบประมาณ 1.  ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๆ จำนวน 1 มื้อๆ  ละ 80 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 4,000 บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 2 มื้อ ๆละ 25 บาท  จำนวน  50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 3.  ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๕00 บาท เป็นเงิน ๓,๐00 บาท 4.  ค่าป้าย ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน ราคาผืนละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 9,800 บาท (เก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคเรื้อรัง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ตรวจคัดกรองหาภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ดังนี้ - การตรวจตา โดยใช้การถ่ายภาพจอประสาทตา เพื่อป้องกันการเกิดตาต้อหินหรือตาต้อกระจก - การตรวจสุขภาพฟันเบื้องต้น - การตรวจเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าและส่งต่อเพื่อรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เท้า - การตรวจโลหิตเพื่อค้นหา ภาวะไตวาย ภาวะไขมันสูงในหลอดเลือด      2) ส่งผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสูงเม่นและโรงพยาบาลแพร่ 3) จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน 4) ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม ทุก 1 - 2 เดือน จากผลการตรวจหาน้ำตาลในเลือดทุกครั้งที่นัดมารับยาคลินิกเบาหวาน 5) สรุปผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน     กิจกรรมจัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน 1.  ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 3.  ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๕00 บาท เป็นเงิน ๓,๐00 บาท 4.  ค่าป้าย ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน ราคาผืนละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 9,800 บาท (เก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 40
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ตรวจคัดกรองหาภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยการตรวจโลหิตเพื่อค้นหา ภาวะไตวาย ภาวะไขมันสูงในหลอดเลือด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง         2) ส่งผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสูงเม่นและโรงพยาบาลแพร่         3) จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับ ความดันโลหิตได้ จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน     4) ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยที่เข้ารับการอบรม ทุก 1 - 2 เดือนจากการตรวจวัดระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มารับบริการตามนัดคลินิกความดันดลหิตสูงในรพ.สต.     5) สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมจัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วัน 1.  ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 3.  ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๕00 บาท เป็นเงิน ๓,๐00 บาท 4.  ค่าป้ายขนาด1x3 เมตร จำนวน1 ผืน ราคา 300 บาท รวมเป็นเงิน 9,800 บาท (เก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน และ ความดันโลหิต ร้อยละ 90
2. ร้อยละของผู้ป่วย DM HT ขาดนัดได้รับการติดตามกลับมารักษาต่อ ร้อยละ 90
3. ร้อยละ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 40
4. ผู้ป่วยโรคDM HT ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแล ตา ร้อยละ 50ไต ร้อยละ 80เท้า ร้อยละ 50
5. ร้อยละผู้ป่วย HT คุมได้ ร้อยละ 60
6. ผู้ป่วย DM HT ได้รับการประเมิน CVD Risk ร้อยละ 80
7. การติดตามวัดความดันโลหิต ที่บ้าน ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 80


>