กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการดำเนินงาน การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 53,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมฤทัย กวาวสิบสาม และคณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 128 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายระดับชาติมุ่งหวังให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกันเอง ในชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหา วิถีชีวิตและบริบทของชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง นำไปสู่การลดรายจ่ายด้านสุขภาพและมีสุขภาพดี ตามวิถีไทยอย่างยั่งยืน ในการดำเนินงานสร้างสุขภาพ เป็นงานที่ทำได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการ ขาดการใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง การนำกลวิธีต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น งานสาธารณสุขมูลฐาน งานสุขภาพดีถ้วนหน้า การสร้างแกนนำครอบครัว ระบบสุขภาพภาคประชาชน เข้ามาดำเนินงานซึ่งล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลที่ต้องใส่ใจ ตระหนักถึงการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง การที่จะทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง อย่างเป็นธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยไม่รู้สึกเป็นภาระ จะต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ ทำซ้ำจนเคยชิน จนทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้คนในชุมชนมีการใส่ใจในการสร้างสุขภาพอย่างแท้จริง ร่วมกันคิดและร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ ด้วยการรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อดูแลซึ่งกันและกันทั้งด้านการจัดการด้านสุขภาพ การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของตน มีการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนและปฏิบัติต่อสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง มีจำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรอง โรคไม่ติดต่อ จำนวน ๑,309 คน มีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 191 คน และสงสัยป่วยจำนวน 53 คน มีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 123 คน และสงสัยป่วย จำนวน 5 คน (ข้อมูลอ้างอิง ควร เป็น 3 ปี จะได้เห็น แนวโน้ม) ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน ปี 2561 – 2564 คัดกรองได้ร้อยละ 96.77 ,98.27,97.27 ,97.41 ,100,ตามลำดับ ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2561 – 2564 คัดกรองได้ร้อยละ 96.28 ,95.91,96.76 ,97.41 ,97.89ตามลำดับ ปี2563, 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 5, 35 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.30 ,2.00กลุ่มเสี่ยง 123, 158 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.26 ,9.04
ปี 2563 2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 53 , 17คน คิดเป็น ร้อยละ 3.13,1.37 กลุ่มเสี่ยง 191 , 135 คน คิดเป็น ร้อยละ 14.85 ,10.42
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วเพื่อให้ประชาชนและชุมชน มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทำให้ลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนตลอดจนลดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ประชาชนไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดัน

ประชาชนไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53,290.00 0 0.00
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมในกลุ่มประชาชนทั่วไป 0 23,890.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง 0 9,800.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 0 9,800.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 0 9,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน และ ความดันโลหิต ร้อยละ 90
  2. ร้อยละของผู้ป่วย DM HT ขาดนัดได้รับการติดตามกลับมารักษาต่อ ร้อยละ 90
  3. ร้อยละ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 40
  4. ผู้ป่วยโรคDM HT ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการดูแล ตา ร้อยละ 50ไต ร้อยละ 80เท้า ร้อยละ 50
  5. ร้อยละผู้ป่วย HT คุมได้ ร้อยละ 60
  6. ผู้ป่วย DM HT ได้รับการประเมิน CVD Risk ร้อยละ 80
  7. การติดตามวัดความดันโลหิต ที่บ้าน ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2565 12:48 น.