แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis)เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม (Roundworm) ติดต่อโดยทีโดยแมลงเป็นพาหะ คือ ยุง ในประเทศไทยพบพยาธิโรคเท้าช้าง ๒ ชนิด ได้แก่เชื้อ Wuchereriabancrofti ทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พาหะหลัก คือ ยุงลายป่า(Aedesnevius) พบในจังหวัดชายแดนไทย – พม่า ในจังหวัดตากแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน กาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง และ เชื้อBrugiamalayi ทำให้เกิดอาการแขนขาโตมีพาหะหลักคือ ยุงเสือ(Mansoniabonnea) พบทางภาคใต้ของประเทศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส สำหรับจังหวัดนราธิวาสโรคเท้าช้างถือเป็นโรคประจำถิ่น มีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงตรวจพบเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรียอยู่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคเท้าช้างไปแล้วในเดือนกันยายน ปี 2560 ก็ตาม แต่เนื่องจาก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะขนาดใหญ่อยู่ และประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดตลอดเวลา จึงมีโอกาสรับเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างได้สูงมากกว่าพื้นที่อื่น จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำของโรคเท้าช้าง โดยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เข้าดำเนินการเจาะเลือดค้นหา ผู้ติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างด้วยการใช้ชุดตรวจแบบเร็วสำเร็จรูป และทำฟิล์มเลือดหนา ในเขตรับผิดชอบของตนเอง ทำให้มีความครอบคลุม มาตรการที่สำคัญ คือ ๑) การรักษากลุ่มประชากรเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ๒) การรักษาเฉพาะรายโดยการติดตามจ่ายและเจาะโลหิตซ้ำในผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือด ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอวัยวะบวมโต ๓) การให้สุขศึกษา – ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคเท้าช้างอย่างถูกต้อง เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษา และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องต่อไป
สำหรับพื้นที่หมู่ที่6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นหมู่บ้านเป้าหมายที่เป็นพื้นที่เสี่ยงระบาดโรคเท้าช้าง ซึ่งทางโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้จัดทำโครงการ เร่งรัดกำจัดโรคเท้าช้างปีงบประมาณ 2564 หมู่ที 6 บ้านบาโงดุดุง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
-
1. 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้างตัวชี้วัด : 1. ประชาชนในพื้นที่หมู่6 บ้านบาโงดุดุงได้มีการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง ร้อยละ60 2. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้างขนาดปัญหา เป้าหมาย 1.00
- 1. ให้ความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง ลักษณะอาการของโรค, สาเหตุของโรค, การรักษาโรค, ภาวะแทรกซ้อนของโรคและ การป้องกันโรคเท้าช้าง และเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน แบ่งเป็น 2 วัน วันละ 150 คนรายละเอียด
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 2ชั่วโมง 6วัน เป็นเงิน 7,200.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1มื้อๆละ 50บาท 6วัน เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท 6วัน เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าวัสดุอบรมโครงการ จำนวน 300คนๆละ 25บาท เป็นเงิน 7,500.-บาท
- ค่าป้ายไวนิล ขนาด1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 720.-บาท
งบประมาณ 45,420.00 บาท - ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 2ชั่วโมง 6วัน เป็นเงิน 7,200.-บาท
ตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 45,420.00 บาท
- ประชาชนให้ความร่วมมือคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง
- ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
- ผู้ป่วยรายใหม่ รับการรักษาได้ทันท่วงที
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ รหัส กปท. L8422
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................