กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

พื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

40.00
2 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

5.00

การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านถือเป็นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการที่มีความยากลำบากในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลด้วยตนเอง การเยี่ยมบ้านถือเป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยและเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนอนนานหรือเคลื่อนไหวตัวได้น้อย และยังถือเป็นการค้นหาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมหาแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมในการดูแลและปฏิบัติตนแก่ผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้การเยี่ยมบ้านยังถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังให้แก่ผู้ป่วยและผู้พิการ เนื่องด้วยสภาวะร่างกายของผู้ป่วยที่ทำให้ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน หรือการมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการถูกให้อยู่เพียงลำพังนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วยทั้งสิ้น ในบางรายอาจเกิดความเครียดสะสม หรือรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง รู้สึกตนเองเป็นภาระของผู้อื่น ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการดูแลสุขภาพกายให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลและประคองสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการ
ในปัจจุบันเขตพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 45 ราย ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 28 ราย ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 12 รายและผู้พิการ จำนวน 5 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีเท่าที่ควร ขาดการดูแลสุขภาพที่ดีและมีความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ เนื่องจากสถานะทางการเงินของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงยากจน ลูกหลานจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ปัจจุบันผู้ป่วยบางรายต้องอยู่เพียงลำพัง เพื่อติดตามและดูแลสุขภาพกายและจิต องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ จึงได้ จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการและผู้ดูแลมีความรู้ในเรื่องการทำกายภาพบำบัด และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

45.00 0.00
2 2. เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก คิดเป็นร้อยละ 100

45.00 0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการในพื้นที่่เห็นคุณค่าของตนเอง และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข

ผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นเห็นคุณค่าของตนเอง และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

45.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจำนวน 28,450.00 บาท รายละเอียดดังนี้

  1. ค่าป้ายโฟมบอร์ด ขนาด 50*80 เซนติเมตร เป็นเงิน 400 บาท

  2. ค่าชุดอุปโภคบริโภค จำนวน 45 ชุด เป็นเงิน 20,250 บาท

  3. ค่าตอบแทนอสม. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และผู้พิการ จำนวนทั้งสิ้น 45 เคส เคสละ 50 บาท อสม. จำนวน หมู่ละ 2 คน เป็นเงิน 4,500 บาท

  4. ค่าใช้จ่ายอื่น เป็นเงิน 3,300 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,450 บาท (เงินสองหมื่นแปดพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการและผู้ดูแลมีความรู้ในเรื่องการทำกายภาพบำบัด และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

  2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก

  3. ผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นเห็นคุณค่าของตนเอง และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น

2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกมากขึ้น

3. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการในพื้นที่เห็นคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น


>