กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะอินทรีย์ในเทศบาลตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

คณะขับเคลื่อนภาคีเครื่อข่าย สสส.ตำบลหารเทา

1.นายรื่น แจ้งกระจ่าง
2.นายชัยทัต สามารถ
3.นายอำนวย ทองหนูนุ้ย
4.นางสาวสุชาดา สังข์สุวรรณ
5.นางสาวสุมิตา สาเส็ม

ทุกหมู่บ้านในตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลหารเทา ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากพะยูน มีขนาดพื้นที่ 51.52 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 3,516 ครัวเรือน มีประชากรรวม 10,012 คน แยกเป็นชาย จำนวน 4,935 คน หญิง 5,077 คน มีโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียน วัด จำนวน 5 วัด มัสยิด จำนวน 1 มัสยิด ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง ธนาคาร จำนวน 1 แห่ง สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง โบราณสถาน จำนวน 1แห่ง รพ.สต. จำนวน 2 แห่ง สถานีรถไฟ จำนวน 1 แห่ง หนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 6 สาย
สถานการณ์ปัญกาขยะของพื้นที่ตำบลหารเทา เทศบาลตำบลหารเทาได้จัดเก็บขยะอาทิตย์ละ 1 ครั้ง/หมู่บ้าน ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 1.84 ตัน/วัน 55.30 ตัน/เดือน และ663.60 ตัน/ปี โดยรถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยแบบเปิดข้างเทท้ายขนาดความจุ 12 ลบ.ม. จำนวน 1 คัน สถานที่กำจัดโดยใช้บริการเอกชนภายนอกตำบลหารเทา ไม่มีถังขยะบริการโดยจะเก็บขยะหลังครัวเรือนคัดแยกแล้ว เหลือขยะที่ต้องกำจัดโดยการอำนวยความสะดวกจากเทศบาลตำบลหารเทา พนักงานเก็บ จำนวน 2 คน พนักงานขับรถ จำนวน 1 คน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ทิ้งขยะ รวมค่าใช้จ่าย 1,112,880 บาทต่อปี ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือนทุกครัวเรือน แต่ยังขาดการนำขยะหลังการคัดแยกไปใช้ประโยชน์ทำให้เกิดปัญหาขยะสดมีปริมาณมากขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งขยะสะสมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นบ่อเกิดของโรคไข้เลือดออกทำให้เกอดปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านเศรษฐกิจครัวเรือน
ในส่วนขแงผลกระทบต่อสังคมมีเรื่องร้องเรียนการนำขยะจากภายนอกพื้นที่มาทิ้งที่บริเวณไหล่ทางในบางพื้นที่เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออื่น จากปัญหาข้างต้นจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกลิ่นขยะในพื้นที่รอยต่อ อีกทั้งในพื้นที่ชุมชนมีตลาดนัด จำนวน 1 แห่งจำหน่ายสินค้า จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาขยะเนื่องจากแม่ค้ายังขาดความรู้เรื่องการคัดแยกและการจัดการขยะที่ถูกวิธี และลูกค้า คน ในชุมชนยังไม่ตระหนักในการใช้ถุงผ้าหรืออุปกรณ์ทดแทนถุงพลาสติกอย่างยั่งยืน
ในพื้นที่ตำบลหารเทามีแหล่งสาธารณประโยชน์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น แหล่งน้ำ ถนน ลำคลอง ที่ขาดการดูแลรักษาความสะอาดอย่างต่อเนื่องจึงก่อให้เกิดปัญหาขยะตามธรรมชาติ เช่น ผักตบชวาในแหล่งน้ำ วัชพืชน้ำ ป่าหญ้าไหล่ทาง ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้เทศบาลตำบลหารเทาได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ปริมาณขยะลดลงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับชุมชน และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะและส่งต่อให้การเรียนรู้สู่เยาวชนรุ่นหลัง ผลักดันให้เกิดภาคีเครือข่ายการจัดการขยะในกลุ่มเยาวชนอย่างยั่งยืน มีการผลักดันเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถานศึกษาในพื้นที่ จากการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ที่ขัยบคลื่อนให้ประเด็นสุขภาวะในระดับจังหวัดตามกรอบเป้าหมายระยะยาว Phatthalung Green City ได้รับการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมสามารถบรรลุเป้าหมายการลดขยะในระดับภาพรวมของจังหวัดต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

1.มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน
2.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน
3.มีแผนการดำเนินงาน
4.มีการประชุมทุก 2 เดือน
5.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรเรียนรู้ในสถานศึกษา

1.กลุ่มเป้าหมายจัดการขยะอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธีและยั่งยืน อย่างน้อย 90%
2.มีการบันทึกการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม (ครัวเรือนเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในสมุด สมุดพกปกเขียว โดยมีคณะทำงานเป็นผู้ตรวจสอบ)

0.00
3 3.เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ

1.มีการติดตามการจัดการขยะในกลุ่มเป้าหมายทุก 3 เดือน เพื่อส่งมอบคนดีมีรางวัลสู่สังคม
2.มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 110 แห่ง
3.หนองน้ำปลอดภัย
4.ถนนปลอดขยะ 1 สาย

0.00
4 4.เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง

1.ปริมาณขยะที่เทศบาลตำบลหารเทาจัดเก็บลดลงร้อยละ 30
2.มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 140
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 8 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 560 บาท
3.ค่าวัสดุ/ประสานงาน เป็นเงิน 1,680 บาท
4.ค่าวิทยากร จำนวน 2 ครั้งๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8240.00

กิจกรรมที่ 2 2.การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 6 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
2.การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 6 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 28 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 5,600 บาท
2.ค่าวัสดุ เป็นเงิน 2,000 บาท
3.ค่าดำเนินการ เป็นเงิน 840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 3 3.เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

ชื่อกิจกรรม
3.เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 140 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,600 บาท
2.ค่าวัสดุสิ้นเปลื้อง เป็นเงิน 2,000 บาท
3.ค่าดำเนินการ เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 4 4.พัฒนาศักยภาพบูรณาการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
4.พัฒนาศักยภาพบูรณาการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
3.ค่าประสานงาน/วัสดุ เป็นเงิน 1,550 บาท
4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คนๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
5.ค่าเช่า 3 ล้อพ่วง 1 วันๆละ 500 บาท จำนวน 5 คัน รวมน้ำมัน เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19050.00

กิจกรรมที่ 5 5.ให้ความรู้การจัดการขยะให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
5.ให้ความรู้การจัดการขยะให้กับกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร+ผู้ดำเนินงาน ชั่วโมงวันละ 600 บาท จำนวน 4 คน จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
2..ค่าวัสดุนำร่อง จำนวน 155 ชุดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 18,600 บาท
3.ค่าอาหรว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 115 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,600 บาท
4.ค่าประสานงาน+เอกสารการอบรม จำนวน 115 ชุดๆละ 55 บาท เป็นเงิน 6,325 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31925.00

กิจกรรมที่ 6 6.รักษ์หารเทา

ชื่อกิจกรรม
6.รักษ์หารเทา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 300 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
2.ค่าวัสดุสิ้นเปลื้อง เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าประสานงาน/ค่าดำเนินการ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 7 7.การติดตามประเมินผลเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
7.การติดตามประเมินผลเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าดำเนินงาน/เอกสารประกอบ เป็นเงิน 885 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
885.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 92,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>